วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

ADDIE

ADDIE
(Analysis > Design > Development > Implementation > Evaluation)
1.      กำเนิด ADDIE

ADDIE ปรากฏตัวครั้งแรกในปี 1975 มันถูกสร้างขึ้นโดยศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐฟลอริดาสำหรับกองทัพสหรัฐและจากนั้นปรับตัวได้อย่างรวดเร็วโดยทุกกองกำลังสหรัฐ (แบรนสัน, เรย์เนอร์ คอคส์, เฟอร์แมนคิง Hannum 1975; วัตสัน, 1981) ห้าขั้นตอนขึ้นอยู่บ้างในรูปแบบ ISD ก่อนหน้านี้ได้รับการพัฒนาโดยกองทัพอากาศสหรัฐ (1970) เรียกว่าวิธีการห้าขั้นตอน ADDIE หรือรุ่น ISD ประกอบด้วย 19 ขั้นตอนที่ได้รับการพิจารณาที่สำคัญในการพัฒนาด้านการศึกษาและการฝึกอบรม (Hannum, 2005) ขั้นตอนที่ถูกแบ่งออกเป็นห้าขั้นตอน (การวิเคราะห์การออกแบบการพัฒนานำไปใช้ประเมิน) เพื่ออำนวยความสะดวกการสื่อสารของรูปแบบ ISD ให้กับผู้อื่นขั้นตอนอยู่ภายใต้ขั้นตอนของตนดังต่อไปนี้:

หกปีต่อมาดร. รัสเซลวัตสัน (1981) หัวหน้าเจ้าหน้าที่และคณาจารย์กองฝึกอบรมของ Fort Huachuca แอริโซนานำเสนอกระดาษที่ประชุมนานาชาติเพื่อการเรียนการสอนเป็นรายบุคคล ในนั้นเขากล่าวถึงรูปแบบ ADDIE เป็นที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยแห่งรัฐฟลอริดา การนำเสนอของเขาที่มีรูปแบบการปรับปรุงเล็กน้อย

รูปแบบของวัตสันก็ขึ้นอยู่กับหนึ่งในการพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยแห่งรัฐฟลอริดาในที่ห้าขั้นตอนเหมือนกัน แต่ขั้นตอนในแต่ละขั้นตอนได้รับการแก้ไขเล็กน้อย (แบรนสัน, เรย์เนอร์ค็อกซ์เฟอร์แมนคิง Hannum, 1975)
รูปแบบที่เป็นมุมมองที่เป็นนามธรรมที่เรียบง่ายของความเป็นจริงที่ซับซ้อนหรือแนวคิด Silvern กำหนดรูปแบบเป็น "อะนาล็อกกราฟิกที่เป็นตัวแทนของสถานการณ์ในชีวิตจริงทั้งที่มันเป็นหรือเป็นมันควรจะเป็น" (AECT, 1977) นี้จะทำให้รูปแบบ ADDIE ในขณะที่มันได้รับภาพในหลายวิธีรูปแบบต่อไปนี้แสดงวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยม (กองทัพสหรัฐ, 2011, หน้า 62)

1.  เนื้อหาสาระรายละเอียดสำคัญของ ADDIE
ADDIE คือ กระบวนการออกแบบระบบการเรียนการสอน โดยมีขั้นตอนการออกแบบตามรูปแบบ ADDIE (ADDIE Model) โดยอาศัยหลักของวิธีการระบบ (System Approach) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าสามารถนำไปใช้ออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น CAI/CBT, WBI/WBT หรือ e-Learning เป็นกระบวนการพัฒนารูปแบบการสอนที่นักออกแบบการเรียนการสอนและนักพัฒนาการฝึกอบรมนิยมใช้กันเพื่อการวิเคราะห์, การออกแบบ, การพัฒนา, การดำเนินการให้เป็นผล และการประเมินผลของสารปัจจัย และกิจกรรมการเรียน
การออกแบบการสอนมุ่งหมายเพื่อวิธีการสอนที่ยึดถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมากกว่าวิธีการที่ยึดถือผู้สอนเป็นศูนย์กลาง  จนกระทั่งการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิผลเกิดขึ้นเป็นกระบวนการออกแบบการสอนที่กระทำวนซ้ำใหม่ในที่ผลของการประเมินผลเพื่อพัฒนาของแต่ละขั้นตอนที่ชี้แนะให้นักออกแบบการสอนพิจารณากลับไปที่ขั้นตอนก่อนหน้าผลิตผลขั้นสุดท้ายของขั้นตอนหนึ่งๆเป็นผลิตผลเริ่มต้นของขั้นตอนต่อไปซึ่ง ADDIE Model
Richey,1986: 96 และ Seels and Glasgow, 1997: 9 ได้มีลำดับการพัฒนาเป็น 5 ขั้น ซึ่งประกอบด้วย
1. การวิเคราะห์ (A : Analysis) dynamic, flexible guideline for building
2. การออกแบบ (D : Design) effective training and performance support
3. การพัฒนา  (D : Development) tools.
4. การทดลองใช้ (I : Implementation)
5. การประเมินผล (E : Evaluation)
ซึ่งแต่ละขั้นตอนเป็นแนวทางที่มีลักษณะที่ยืดหยุ่นเพื่อให้สามารถนำไปสร้างเป็นเครื่องมือได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยรอดเดอริค  ซิมส์  (Roderic  Sims)  แห่งมหาวิทยาลัยซิดนีย์  (University  of  Technology Sydney)  ได้นำรูปแบบ  ADDIE  มาปรับปรุงขั้นตอนให้เป็นขั้นตอนการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ โดยครอบคลุมสาระสำคัญในการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
ขั้นที่ 1 ขั้นวิเคราะห์ (Analysis)
 ในขั้นนี้เป็นการทำความเข้าใจปัญหาการเรียนการสอนเป้าหมายของรูปแบบการสอนและวัตถุประสงค์ที่จะสร้างขึ้นตลอดจนสภาพแวดล้อมการเรียนรู้และความรู้พื้นฐานและทักษะของผู้เรียนที่จำเป็นต้องมีโดยพิจารณาจากคำถามเพื่อการวิเคราะห์ดังนี้
- ใครคือกลุ่มเป้าหมายและเขาต้องมีคุณลักษณะอย่างไร
- ระบุพฤติกรรมใหม่ที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
- มีข้อจำกัดในการเรียนรู้ที่มีอยู่อะไรบ้าง
- อะไรที่เป็นทางเลือกสำหรับการเรียนรู้ที่มีอยู่บ้าง
- หลักการสอนที่พิจารณาเป็นแบบไหน อย่างไร
- มีช่วงเวลาการพัฒนาเป็นอย่างไร
ขั้นที่ 2 การออกแบบ (Design)
ขั้นตอนการออกแบบประกอบด้วย การสร้างจุดประสงค์การเรียนรู้กำหนดเครื่องมือวัดประเมินผล แบบฝึกหัด เนื้อหา วางแผนการสอนและเลือกสื่อการสอนขั้นตอนการออกแบบควรจะทำอย่างเป็นระบบและมีเฉพาะเจาะจง โดยความเป็นระบบนี้หมายถึงตรรกะมีระเบียบแบบแผนของการจำแนก การพัฒนา และการประเมินแผนยุทธวิธีที่วางไว้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำหรับความเฉพาะเจาะจงหมายถึงแต่ละองค์ประกอบของการออกแบบรูปแบบการสอนจะต้องเอาใจใส่ทุกรายละเอียด ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. การออกแบบ Courseware (การออกแบบบทเรียน) ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหา แบบทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test) สื่อ กิจกรรม วิธีการนำเสนอ และแบบทดสอบหลังบทเรียน (Post-test)
2. การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)
3. การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design) การออกแบบหน้าจอภาพ หมายถึง การจัดพื้นที่ของจอภาพเพื่อใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ภาพ และส่วนประกอบอื่นๆ สิ่งที่ต้องพิจารณา มีดังนี้
Ø การกำหนดความละเอียดภาพ (Resolution)
Ø การจัดพื้นที่แต่ละหน้าจอภาพในการนำเสนอ
Ø การเลือกรูปแบบและขนาดของตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
Ø การกำหนดสี ได้แก่ สีของตัวอักษร (Font Color) ,สีของฉากหลัง (Background),สีของส่วนอื่นๆ
Ø การกำหนดส่วนอื่นๆ ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บทเรียน
v บุคลากรที่เกี่ยวของในขั้นตอนนี้ได้แก่ ผู้จัดการโครงการผู้ออกแบบระบบการสอน
ผู้ประเมินโครงการ โปรแกรมเมอร์ ผู้ออกแบบกราฟิก และผู้ผลิตบทเรียน
ขั้นที่ 3 ขั้นการพัฒนา (Development)
ขั้นตอนการพัฒนาคือขั้นที่ผู้ออกแบบสร้างส่วนต่างๆ ที่ได้ออกแบบไว้ในขั้นของการออกแบบซึ่งครอบคลุมการ สร้างเครื่องมือวัดประเมินผล สร้างแบบฝึกหัด สร้างเนื้อหา และการพัฒนาโปรแกรมสำหรับสื่อการสอน เมื่อเรียบร้อยทำการทดสอบเพื่อหาข้อผิดพลาดเพื่อนำผลไปปรับปรุงแก้ไข
จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือ สร้างแผนการสอนและสื่อของบทเรียนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องพัฒนาการสอน และสื่อทั้งหมดที่ใช้ในการสอน และเอกสารสนับสนุนต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ (เช่น เครื่องมือสถานการณ์จำลอง) และซอฟต์แวร์ (เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน) ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้
1. การเตรียมการ เกี่ยวกับองค์ประกอบดังนี้
1.1 การเตรียมข้อความ
1.2 การเตรียมภาพ
1.3 การเตรียมเสียง
1.4 การเตรียมโปรแกรมจัดการบทเรียน
2. การสร้างบทเรียน หลังจากได้เตรียมข้อความภาพ เสียง และส่วนอื่น เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปเป็นการสร้างบทเรียน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการเพื่อเปลี่ยน story board ให้กลายเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3. การสร้างเอกสารประกอบการเรียนหลังจากสร้างบทเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้วในขั้นต่อไปจะเป็นการตรวจสอบและทดสอบความสมบูรณ์ขั้นต้นของบทเรียน
ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนการพัฒนา มีดังนี้
   1) วัสดุประกอบการเรียน (Adjunct Materials)
  2) ตัวบทเรียน  ประกอบด้วยขอความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ และการปฏิสัมพันธ์ รวมทั้งเอกสารประกอบบทเรียน
  3) โปรแกรมการจัดการบทเรียน
ขั้นที่ 4 ขั้นการนำดำเนินการ (Implementation)
ในขั้นตอนการดำเนินการนี้ หมายถึงขั้นของการสอนโดยอาจจะเป็นรูปแบบชั้นเรียน การฝึกอบรม หรือห้องทดลอง หรือรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ โดยจุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียนสนับสนุนการเรียนรอบรู้ของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ต่างๆที่ตั้งไว้
4.1 ติดตั้งบทเรียน (Installation)
4.2 จัดตารางเวลาพร้อมปรับหลักสูตร (Scheduling and Syllabus Adjustment)
4.3 ลงทะเบียนเรียนและบริหารบทเรียน (Enrollment and Administration)
4.4 ปฐมนิเทศผู้เรียน (Orientation)
4.5 วางแผนการสนับสนุนจากผู้สอน (Instructor Plans Facilitation)
4.6 จัดสิ่งสนับสนุนบทเรียน (Facilitation of Course)
ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนการทดลองใช้ มีดังนี้
1) บัญชีรายชื่อชั้นเรียน (Class Roster)
2) การเรียนการสอน (Instructional)
3) แผนการสนับสนุน จากผู้สอน (Instructor’s Facilitation Plan)
บุคลากรที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนนี้ ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน ผู้บริหารหลักสูตร และฝ่ายสนับสนุนด้านเทคนิค
ขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล (Evaluation Phase)
ขั้นการประเมินผลประกอบด้วยสองส่วนคือการประเมินผลรูปแบบ (Formative) และการประเมินผลในภาพรวม (Summative) การประเมินผลรูปแบบคือการนำเสนอในแต่ละขั้นของ ADDIE Process ซึ่งเป็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา และการประเมินผลในภาพรวมจะทำเมื่อการสอนเสร็จสิ้นเพื่อประเมินผลประสิทธิผลการสอนทั้งหมดข้อมูลจากการประเมินผลรวมโดยปกติมักจะถูกใช้เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับรูปแบบการสอน
5.1 จัดทำเอกสารโครงการ (Documenting Project)
5.2 ทดสอบบทเรียน (Testing)
5.3 ปรับบทเรียนให้ใช้งานได้ (Validation)
5.4 ประเมินผลกระทบ (Conducting Impact Evaluation)
ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนการประเมินผล มีดัง นี้
1) เอกสารโครงการ (Documentation) ได้แก่บันทึกข้อมูลด้านเวลา (Record TimeData) รายงานผู้ใช้บทเรียนและผู้ควบคุม (Trainees and Supervisors Report) และ ผลสรุปของ
Ø ข้อคำถามบทเรียน (Course Review Question Results) เป็นต้น
2) คุณภาพของบทเรียน (Quality) ได้แก่
Ø ประสิทธิภาพ (Efficiency) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน (Effectiveness) และความพึงพอใจ (Satisfaction) เป็นต้น
3) รายงานผลกระทบของบทเรียน (Impact Evaluation Report) บุคลากรที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนนี้ ได้แก่ ผู้จัดการโครงการผู้ออกแบบระบบการสอนผู้ประเมินโครงการโปรแกรมเมอร์และผู้เชี่ยวชาญด้าน

ADDIE กับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
การออกแบบการเรียนรู้ เป็นการออกแบบที่มีเป้าหมายความเข้าใจในการเรียนรู้ ผู้ออกแบบหรือผู้สอนจึงต้องคิดอย่างนักประเมินผล ตระหนักถึงหลักฐานของความเข้าใจทั้ง 6 ด้าน ที่ชัดเจนและลึกซึ้ง โดยผู้เรียนสามารถอธิบาย แปลความ ในการนำไปประยุกต์ใช้ การออกแบบการเรียนรู้จึงเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถ ในการแสดงความสามารถการนำเสนอมุมมองได้อย่างหลากหลาย ดังนี้
1.  ความสามารถในการอธิบาย ผู้เรียนสามารถอธิบาย ด้วยหลักการที่เป็นเหตุและผล อย่างเป็นระบบ
การประเมินผล ใช้วิธีการพูดคุยเพื่อประเมินเหตุผลจากการอธิบายของผู้เรียน  การมอบหมายงานที่ใช้ทักษะการเขียน การเรียงความ หรือย่อความ  การสอบถามถึงประเด็นที่ผู้เรียนมักสับสนหรือหลงประเด็น  การให้ผู้เรียนสรุปประเด็นการเรียนรู้   และการสังเกตลักษณะคำถามที่ผู้เรียนสอบถาม
2.  ความสามารถในการแปลความ ผู้เรียนสามารถแปลความได้ชัดเจน และตรงประเด็น
การประเมินผล  ใช้วิธีการให้ผู้เรียนเขียนสะท้อนเรื่องราว แนวคิด หรือทฤษฎี เพื่อประเมินเกี่ยวกับการลำดับ ไล่เรียง และความชัดเจนของสาระเนื้อหา
3.  ความสามารถในการประยุกต์ใช้ ผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างถูกต้องและครอบคลุม
การประเมินผล  ใช้วิธีการให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ที่กำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ  การให้ผู้เรียนประเมินหรือเขียนข้อมูลป้อนกลับจากการนำความรู้ไปใช้
4.  ความสามารถในการมองมุมที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถเสนอมุมมองใหม่ ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ
การประเมินผล  ใช้วิธีการวิเคราะห์วิจารณ์ โดยให้ผู้เรียนเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย แนวทางในการคิด การมองจากสถานการณ์ตัวอย่าง
5.  ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับฟังและสนองตอบ
การประเมินผล  ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินความสามารถในการสมมติ การเข้าไปนั่งในใจผู้อื่น
6.  ความสามารถในการเข้าใจตนเอง ผู้เรียนมีความใส่ใจ พร้อมปรับตัวรับการเรียนรู้ใหม่
การประเมินผล  ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินเปรียบเทียบผลงานของตัวเองแต่ละช่วงเวลา มีความรู้และเข้าใจมากขึ้นเพียงไร
ครูผู้สอน: WHERE:  การออกแบบการเรียนรู้
W   Where are we heading?  เป้าหมายการเรียนรู้จะเป็นไปในทิศทางไหน
H    Hook the student through provocative entry points   ออกแบบการเรียนรู้ให้น่าสนใจเพื่อสร้างแรงจูงใจ
E    Explore and Enable      การคัดเลือกเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์ประเด็นแนวคิด ทฤษฎี และการนำไปใช้
R    Reflection and Rethink การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้และการสังเคราะห์ข้อสรุปจากเนื้อหาสาระ
E     Exhibit and Evaluate       การประเมินผลที่มีเป้าหมายชัดเจน เน้นสภาพความเป็นจริง
ครูผู้สอน: มิติการคิด: นักประเมินผลและนักออกแบบกิจกรรม
การคิดอย่างนักประเมินผล      การคิดอย่างนักออกแบบกิจกรรม
Ø อะไรคือหลักฐานการเรียนรู้ที่เพียงพอและชัดเจน   กิจกรรมอะไรทำให้ผู้เรียนเข้าใจและติดตาม
Ø อะไรคือจุดเน้นของการเรียนการสอน   จะใช้สื่ออุปกรณ์ชนิดใดสำหรับหัวข้อนี้
Ø อะไรคือจุดจำแนกผู้เรียนที่รู้และไม่รู้    จะกำหนดกิจกรรมและโครงการอย่างไร
Ø อะไรคือเกณฑ์ในการตัดสินงาน           จะให้คะแนนและชี้แจงประเมินผลอย่างไร
Ø จะตรวจสอบความเข้าใจผิดของผู้เรียนได้อย่างไร       กิจกรรมที่ไม่ได้ผล เป็นเพราะอะไร
ตัวอย่าง การใช้ ADDIE ในการออกแบบการเรียนการสอน
1. การศึกษาความพึงพอใจในการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียวิชาฟิสิกส์ เรื่อง งานและพลังงาน โดยใช้แบบจำลองของ Addie Model Satisfaction Learning by Using Multimedia Computer on Physics in Work and Power Subject by Using Addie Model
2.  นนิดา  สร้อยดอกสน (2553) ได้ศึกษาวิจัยโดยพัฒนาโปรแกรมสอนภาษาอังกฤษสำหรับเยาวชนผู้พิการ ทางสายตา โดยการพัฒนาและออกแบบระบบการสอนใช้แบบจำลองของ ADDIE Model สำหรับเนื้อหาบทเรียน ภาษาอังกฤษมีทั้งหมด 10 บทเรียน แต่ละบทเรียนจะมีรูปแบบการนำเสนอ 3 ส่วน คือ ส่วนของคำศัพท์ ส่วนของ บทสนทนา และส่วนของแบบฝึกหัด และได้นำไปทดสอบกับกลุ่มเยาวชนผู้พิการทางสายตาในช่วงชั้นที่ 2  (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6) จำนวน 10 คน งานวิจัยนี้ศึกษาการตอบสนองความต้องการการใช้สื่อการเรียนการสอน ของผู้พิการทางสายตา และความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมซึ่งผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเยาวชนผู้พิการทางสายตามี ความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมสอนภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมาก
แหล่งอ้างอิง
http://www.instructionaldesign.org/models/addie.html อ้างในDocument courtesy of Wikipedia.org





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น