แนวคิดทฤษฎีการพัฒนานวัตกรรม (ที่เกี่ยวข้องวิจัยของตนเอง)

ประเด็นหัวข้อที่สนใจ
“การพัฒนาชุดกิจกรรมผสานเทคนิคการสอนแบบแผนผังกราฟิก เพื่อเสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4
1.              1. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา  และวัฒนธรรม สาระภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1  โรงเรียนชุมชนบ้านหัวขัว โดยใช้ แบบฝึกทักษะทางการเรียน
(สิรินยา  หอศิลาชัย  โรงเรียนชุมชนบ้านหัวขัว  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 2สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ปีการศึกษา  2552)
แนวคิด/ทฤษฎีในเรื่องแบบฝึกทักษะ
1.             ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ  Jean  Piaget  ซึ่งเป็น  Cognitive  Psychologist  ที่ศึกษาเกี่ยวกั
เรื่องที่ว่า  คนเราคิดได้อย่างไร”  การเรียนรู้ที่จะคิดแก้ปัญหาได้อย่างไร  ลักษณะของความสามารถในการคิดเป็นอย่างไรเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ  ความคิดในเรื่องเหล่านี้จะช่วยให้ครูมีความสามารถที่จะพัฒนาสติปัญญาของผู้เรียนให้เพิ่มพูนขึ้น  และสามารถเลือกใช้วิธีสอนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความสามารถทางสติปัญญาของผู้เรียน  (กิ่งฟ้า  สินธุวงษ์  2526,  หน้า  139 – 149)
1.2. ทฤษฎีการลองผิดลองถูกของ ธอร์นไดค์  ซึ่งได้สรุปเป็นกฎเกณฑ์การเรียนรู้  ดังนี้
                        1)  กฎความพร้อม หมายถึง  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลพร้อมที่จะกระทำ
                        2)  กฎผลที่ได้รับ หมายถึง  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเพราะบุคคลกระทำซ้ำ และยิ่งทำมากความชำนาญจะเกิดขึ้นได้ง่าย
        ไพบูลย์  เทวรักษ์  (2540)  ได้กล่าวถึงกฎการฝึกหัดไว้ว่า การฝึกหัดให้บุคคลทำกิจกรรมต่าง ๆ นั้น ผู้ฝึกจะต้องควบคุมและจัดสภาพการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของตนเอง บุคคลจะถูกกำหนดลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออก
        ดังนั้น  ผู้สร้างแบบฝึกจึงจะต้องกำหนดกิจกรรมตลอดจนคำสั่งต่าง ๆ ในแบบฝึก ให้ผู้ฝึกได้แสดงพฤติกรรมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ผู้สร้างต้องการ
1.3.ทฤษฎีพฤติกรรมนิยมของสกินเนอร์   ซึ่งมีความเชื่อว่าสามารถควบคุมบุคคลให้ทำตามความประสงค์ หรือแนวทางที่กำหนดได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงความรู้สึกทางจิตใจของบุคคลผู้นั้นว่าจะรู้สึกนึกคิดอย่างไร โดยมีการเสริมแรงเป็นตัวการ เมื่อบุคคลตอบสนองการเร้าของสิ่งเร้าควบคู่กันในช่วงเวลาที่เหมาะสม สิ่งเร้านั้นจะรักษาระดับหรือเพิ่มการตอบสนองให้เข้มขึ้น

1.4. แนวคิดของบลูม  ซึ่งกล่าวถึงธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคนว่า  มีความแตกต่างกัน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาในหน่วยย่อยต่าง ๆ ได้โดยใช้เวลาเรียนที่แตกต่างกัน
2. การพัฒนาชุดกิจกรรม ใช้หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับชุดการเรียนการสอน
                    แนวคิดที่ 1 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล ได้นำหลักจิตวิทยามาประยุกต์ใช้ใน
การเรียนการสอน  โดยคำนึงถึงความถนัด  ความต้องการ  และความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ   ความแตกต่างระหว่างบุคคลมีหลายด้าน  คือ สติปัญญา  ความสามารถ  ความสนใจ  ความต้องการ  ร่างกาย  อารมณ์  เป็นต้น   ในการจัดการเรียนการสอนวิธีการที่เหมาะสมที่สุด คือ การจัดการสอนเป็นรายบุคคล  หรือการสอนตามเอกัตภาพการศึกษาโดยเสรี  การศึกษาด้วยตนเอง
                    แนวคิดที่ 2 ความพยายามที่จะเปลี่ยนการสอนจากเดิม ที่ยึดครูเป็นแหล่งความรู้ มาเป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนด้วยการใช้ความรู้จากสื่อการสอนแบบต่าง ๆ    ซึ่งได้จัดให้ตรงกับเนื้อหาและประสบการณ์ตามหน่วยการสอน การเรียนด้วยวิธีนี้ครูจะถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนเพียงหนึ่งในสามของเนื้อหาทั้งหมด   อีกสองส่วนผู้เรียนจะศึกษาด้วยตนเองจากสิ่งที่ผู้สอนได้เตรียมไว้ในรูปของชุดกิจกรรม
                    แนวคิดที่ 3 การใช้โสตทัศน์อุปกรณ์ ในรูปของการจัดระบบการใช้สื่อการสอนมาช่วยสอน และใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน จึงเป็นการผลิตสื่อการสอนแบบประสมให้เป็นชุดกิจกรรม เพื่อเปลี่ยนจากการใช้สื่อเพื่อช่วยครูสอนมาเป็นการช่วยผู้เรียน
                    แนวคิดที่ 4 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนจากสภาพแวดล้อม เดิมเด็กนักเรียนเป็นฝายรับความรู้จากครู ไม่มีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นต่อเพื่อน ๆ และครู จึงขาดทักษะการแสดงออกและการทำงานเป็นกลุ่ม จึงได้มีการนำกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ประกอบกิจกรรมด้วยกัน จึงนำมาสู่การผลิตสื่อออกมาในรูปของชุดกิจกรรม
แหล่งอ้างอิงข้อมูลเมื่อ 2551  https://www.gotoknow.org/posts/210308%20    

3. เทคนิคการใช้ผังกราฟิก (graphic organizer)
เทคนิคการใช้ผังกราฟิก เป็นเทคนิคที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากการจัดโครงสร้างความคิดล่วงหน้าตามทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (meaningful learning theory) ของเดวิด อูซูเบล (David P. Ausubel) นักจิตวิทยาอเมริกัน ที่เสนอการจัดโครงสร้างความคิด หรือโครงสร้างภาพรวมล่วงหน้า (presenting first) เพื่อใช้สำหรับอ่านและทำความเข้าใจเนื้อหาจากตำรา หลังจากนั้นมีแผนภาพแบบต่างๆเกิดขึ้นมากกว่า 20 ชนิด รวมทั้งโครงสร้างภาพรวมที่นำมาใช้ทำความเข้าใจบทความที่มีความยาวมากๆ โดยนำเสนอข้อมูลในรูปไดอะแกรม และรูปภาพต่างๆ
ทฤษฎีของอูซูเบลเป็นทฤษฎีที่หาหลักการอธิบายการเรียนรู้ที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้ที่ปรากฏในหนังสือที่โรงเรียนใช้กับความรู้เดิมที่อยู่ในสมองของผู้เรียนในโครงสร้างสติปัญญา(cognitive structure) หรือการสอนโดยวิธีการให้ข้อมูลข่าวสาร เขาเรียกทฤษฏีนี้ว่า ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย( meaningful verbal learning)” โดยนิยามว่า เป็นการเรียนที่ผู้เรียนได้รับมาจากการที่ผู้สอนอธิบายสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ให้ทราบและผู้เรียนรับฟังด้วยความเข้าใจ โดยผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับโครงสร้างภาพรวมที่ได้เก็บไว้ในความทรงจำ และจะสามารถนำมาใช้ในอนาคต

อูซูเบลมองว่าในสมองของมนุษย์มีการจัดความรู้ต่างๆ ที่ได้เรียนรู้อย่างมีระบบ  โครงสร้างทางปัญญาซึ่งมีการจัดลำดับความสัมพันธ์เชื่อมโยงจากความคิดรวบยอด (concept) ที่กว้างและครอบคลุมลงมาจนถึงความคิดรวบยอดย่อยๆ ที่มีความเฉพาะเจาะจง ดังนั้นการเรียนรู้ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงควรจะต้องเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมายที่ผู้เรียนสามารถนำการเรียนรู้ใหม่เข้าไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือความคิดรวบยอดที่มีอยู่แล้ว โดยความรู้ใหม่ที่ได้เรียนรู้อย่างมีความหมายจะถูกเก็บไว้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง อันเป็นผลจากการดูดซึมกับความรู้เดิมที่มีอยู่และจะช่วยขยายความรู้เดิมหรือมโนทัศน์เดิมที่มีอยู่แล้ว ทั้งนี้การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ถ้าในการเรียนรู้สิ่งใหม่นั้นผู้เรียนมีพื้นฐานที่เชื่อมโยงเข้ากับความรู้เดิมได้ ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้สิ่งใหม่นั้นมีความหมาย ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้จากการรับข้อมูลข่าวสารหรือเกิดจากการค้นพบด้วยตนเอง และวิธีเรียนนั้นอาจจะเป็นการเรียนรู้อย่างเข้าใจและมีความหมาย หรือการเรียนรู้แบบท่องจำโดยไม่ใช้ความคิด ซึ่ง อูซูเบล แบ่งการเรียนรู้เป็น ๔ ประเภทคือ การเรียนรู้ด้วยการรับอย่างมีความหมาย (meaning reception learning), การเรียนรู้ด้วยการท่องจำโดยไม่ใช้ความคิด (rote reception learning), การเรียนรู้ด้วยการค้นพบอย่างมีความหมาย (meaningful discovery learning) และการเรียนรู้ด้วยการค้นพบแบบท่องจำโดยไม่ใช้ความคิด (rote discovery learning)
แหล่งอ้างอิงข้อมูล https://www.gotoknow.org/posts/306304  โพสต์เมื่อ 2553
4.  แนวคิดเกี่ยวกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)
แนวคิดเกี่ยวกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)ผศ.ดร.นรีรัตน์  สร้อยศรี
           2.5.1    ความหมายของการคิดชาติ (2545)  ได้ให้ความหมายของการคิดไว้ 2 ความหมาย ดังนี้
ความหมายที่ 1 การคิดเป็นกระบวนการทำงานของสมอง โดยใช้ประสบการณ์มาสัมพันธ์กับสิ่งเร้าและข้อมูลหรือสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหา แสวงหาคำตอบ ตัดสินใจ หรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่
ความหมายที่ 2 การคิดเป็นพฤติกรรมที่เกิดในสมอง เป็นนามธรรม ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า การจะรู้ว่ามนุษย์คิดอะไร อย่างไร จะต้องสังเกต จากพฤติกรรมที่แสดงออก หรือคำพูดออกมา
ชูชีพ ( 2522) กล่าวว่า การคิดเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสมอง เนื่องจากกระบวนการใช้สัญญลักษณ์ แทนสิ่งของหรือสถานการณ์ต่าง ๆ หรืออาจกล่าวได้ว่า การคิดเป็นกระบวนการที่ภาพหรือสัญลักษณ์สิ่งของหรือสถานการณ์ต่าง ๆ  มาปรากฏในแนวคิด (Idea) หรือจิตใจ (Mind) ของเรานั่นเอง การคิดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ  คือ การคิดที่ไม่มีจุดหมาย  (Assosiative Thinking)   เช่น  การคิดถึงเหตุการณ์ที่ล่วงมาแล้ว   และการคิดที่มีจุดมุ่งหมาย  (Direct Think)  เช่น  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดสร้างสรรค์
2.5.2   ทักษะการคิด  ทิศนา และคณะ (2544) ได้ให้ความหมายของทักษะการคิดว่าเป็นคำที่แสดงพฤติกรรมการคิด ที่มีลักษณะเป็นรูปธรรมเพียงพอที่ช่วยให้มองเห็นพฤติกรรม/การกระทำที่ชัดเจนของการคิดนั้น ทักษะการคิด (thinking skills) แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้
2.5.2.1   ทักษะที่เป็นพื้นฐาน  (basic  thinking  skills) ได้แก่  ทักษะที่ใช้ในการสื่อสาร (Communication Skills) เช่น การฟัง พูด อ่าน เขียน สื่อสาร ฯลฯ
2.5.2.2   ทักษะที่เป็นแกนสำคัญ (Core thinking Skills) เป็นทักษะการคิดที่ใช้กันมาก ได้แก่ ทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ การตีความ การขยายความ การสรุป การอ้างอิง เป็นต้น

2.5.2.3   ทักษะการคิดระดับสูง (Higher Order Thinking Skills) เป็นทักษะการคิดที่ซับซ้อนและยากขึ้นกว่าทักษะแกน  เช่น ทักษะการตั้งสมมุติฐาน  ทักษะการทำนาย  ทักษะการนิยาม  ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการสังเคราะห์ ทักษะการจัดระบบ เป็นต้น

5. ผลการใช้วธิีการจัดการเรียนรู้แบบ 7 อีที่เน้นกจิกรรมการคิดอย่างมีวจิารณญาณ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของสิ่ง
มีชีวติทมี่ีต่อผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนและความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่4 โรงเรียนพิริยาลยัจังหวดัแพร่  จังหวดัแพร่ 

แหล่งอ้างอิงข้อมูล


6. การพัฒนาชุดการสอนตามวิธีสอนแบบสืบเสาะความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์
ของนักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 2
แหล่งอ้างอิงข้อมูล   http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=1969&query=%A1%D2%C3%BE%D1%B2%B9%D2%AA%D8%B4%A1%D2%C3%CA%CD%B9&s_mode=any&d_field=&d_start=0000-00-00&d_end=2557-12-07&limit_lang=&limited_lang_code=&order=&order_by=&order_type=&result_id=12&maxid=288

7. ตอนที่ ๘ PMI สู่ห้องเรียนฝึกการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
โดยใช้เครื่องมือ PMI ด้วยวันนี้เรามีการเรียนคาบเดียวครูนกเลยไม่ได้ใช้สื่อเสริมอื่นใด ทั้งๆที่เตรียม PPT เรื่องเทคนิค PMI (ดาวน์โหลดได้ที่นี่) ทำแค่เขียนกระดานให้นักเรียนรู้จักคำว่า PMI ในประเด็นต่อไปนี้
          -  PMI ย่อมาจากคำว่าอะไร (P - Plus M - Minus และ I - Interesting)
          -  ใช้PMI อย่างไร (เน้นการคิดเชิงบวกต่อประเด็นที่กำลังคิด  เน้นการคิดเชิงลบต่อประเด็นที่กำลังคิด และ เน้นความน่าสนใจ)
          -  ยกตัวอย่างเรื่องใกล้ตัว(การที่นักเรียนสามารถไว้ทรงผมได้ตามความชอบ)
P - คิดบวก            M - คิดลบ             I - จุดน่าสนใจ
นักเรียนสบายใจ  การแฟชั่นมากมายในโรงเรียนโอกาสที่นักเรียนหญิงทุกคนจะไว้ผมยาวจะเกิดหรือไม่
แสดงออกถึงเสรีภาพทำให้ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยนักเรียนหญิงจะเลือกไว้ผมยาวหรือผมซอยมากกว่ากัน

ร้านเสริมสวยจะมีรายได้เพิ่มขึ้นแยกไม่ออกว่าเด็กมัธยมหรือเด็กอาชีวศึกษาปล. เด็กคิดกันคล่องแคล่วมากเพราะประเด็นใกล้ตัว 
แหล่งอ้างอิงข้อมูล https://www.gotoknow.org/posts/544541

8. แนวคิดเกี่ยวกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)

แนวคิดเกี่ยวกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)ผศ.ดร.นรีรัตน์  สร้อยศรี
           2.5.1    ความหมายของการคิดชาติ (2545)  ได้ให้ความหมายของการคิดไว้ 2 ความหมาย ดังนี้
ความหมายที่ 1 การคิดเป็นกระบวนการทำงานของสมอง โดยใช้ประสบการณ์มาสัมพันธ์กับสิ่งเร้าและข้อมูลหรือสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหา แสวงหาคำตอบ ตัดสินใจ หรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่
ความหมายที่ 2 การคิดเป็นพฤติกรรมที่เกิดในสมอง เป็นนามธรรม ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า การจะรู้ว่ามนุษย์คิดอะไร อย่างไร จะต้องสังเกต จากพฤติกรรมที่แสดงออก หรือคำพูดออกมา

ชูชีพ ( 2522) กล่าวว่า การคิดเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสมอง เนื่องจากกระบวนการใช้สัญญลักษณ์ แทนสิ่งของหรือสถานการณ์ต่าง ๆ หรืออาจกล่าวได้ว่า การคิดเป็นกระบวนการที่ภาพหรือสัญลักษณ์สิ่งของหรือสถานการณ์ต่าง ๆ  มาปรากฏในแนวคิด (Idea) หรือจิตใจ (Mind) ของเรานั่นเอง การคิดแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ  คือ การคิดที่ไม่มีจุดหมาย  (Assosiative Thinking)   เช่น  การคิดถึงเหตุการณ์ที่ล่วงมาแล้ว   และการคิดที่มีจุดมุ่งหมาย  (Direct Think)  เช่น  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดสร้างสรรค์


9. บทความวิจัย ความสามารถในการคิดอย่างมวิจารณญาณของนักศึกษา พยาบาล ชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์

แหล่งอ้างอิงข้อมูล http://www.tci-thaijo.org/index.php/nur-psu/article/download/4587/4006

10. เคล็ดลับสร้างแรงจูงใจในการเรียน
การที่เด็กจะประสบความสำเร็จในการเรียนนั้นจำเป็นต้องมีปัจจัยหลายประการ หนึ่งในปัจจัยสำคัญคือการสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้เกิดขึ้นกับเด็ก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวของครูเองจะต้องเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น และหมั่นสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของตนเองอย่างสม่ำเสมอด้วย


"เรียนรู้ข้ามโลก" ฉบับนี้ ขอนำเคล็ดลับการสร้างแรงจูงใจในการเรียน 8 ประการของ เท็ด นัสโบม ครูผู้มีประสบการณ์สอนในระดับชั้นประถมศึกษามากว่า 10 ปีในโรงเรียนไวเทเคอร์ มลรัฐโอเรกอน ในสหรัฐอเมริกา มาเผยแพร่เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูบ้านเราในการนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของแต่ละโรงเรียน
ความกระตือรือร้นและตื่นเต้น
สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมรู้สึกตื่นเต้นคือการได้เห็นเด็กๆ เรียนรู้ และผมก็มักจะให้เด็กรู้ว่าผมตื่นเต้นด้วย ผมบอกเด็กๆ ว่า "ยังมีเรื่องอีกมากมายที่พวกหนูต้องเรียนรู้ และเป้าหมายของครูคือสอนให้พวกหนูเป็นผู้เรียนที่ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา" นัสโบมกล่าวว่า ครูต้องหาทางที่จะกระตุ้นหรือหล่อเลี้ยงความกระตือรือร้นและความน่าตื่นเต้นของตนเองให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ เนื่องจากท่าทีในการสอนและการเรียนรู้ของครูจะส่งผ่านไปยังนักเรียนด้วย
ตั้งเป้าหมายสูง
นัสโบมเป็นครูที่ตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ของนักเรียนทุกคนไว้สูง เขาพยายามจะสื่อไปถึงนักเรียนว่า "ความคาดหวังของครูคือ การที่นักเรียนสามารถบรรลุเป้าหมายในการเรียนที่ครูวางไว้" นัสโบมแสดงความเห็นว่า "หากครูตั้งเป้าหมายไว้สูง เด็กมีแนวโน้มจะเรียนรู้ได้ดีกว่า ในทางตรงข้าม ถ้าครูตั้งเป้าหมายต่ำ เด็กจะลดระดับการแสดงออกทางการเรียนของตนเองให้ต่ำลงเท่ากับความคาดหวังของครู"
แห่งอ้างอิงข้อมูล http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=22259&Key=news_research

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น