ปัญหา/ประเด็นปัญหาหัวข้อวิจัยที่สนใจ

ประเด็นหัวข้อที่สนใจ 
“การพัฒนาชุดกิจกรรมผสานเทคนิคการสอนแบบผังกราฟิก เพื่อเสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4
ปัญหาแบบกว้างโดยทั่วไป
1.ปัญหาเรื่องการโดดเรียน 
       เด็กหนีเรียนเป็นพฤติกรรมที่เด็กไม่มีความสุขที่จะเรียนหนังสือไม่ยอมเข้าเรียน จะหลบอยู่ในบริเวณโรงเรียนหรือหนีไปอยู่นอกโรงเรียนตามสถานที่ต่าง ๆ เกิดได้หลายสาเหตุ - ตัวเด็กเอง ในเรื่องของการเรียนไม่ดี เรียนไม่ทันเพื่อน ไม่มีการบ้านส่งครู ถูกเพื่อนข่มขู่
- ครอบครัวขาดความสุข ทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัว ความขัดสน หรือร่ำรวย ด้วยวัตถุแต่ขาดความรัก ความใส่ใจจากพ่อแม่
- โรงเรียนและครูที่ไม่เข้าใจเด็ก มีกฎระเบียบที่เข้มงวด ครูที่เผด็จการ ไม่ยืดหยุ่น ลงโทษรุนแรง วิธีการสอนของครูไม่น่าสนใจ
แหล่งอ้างอิงข้อมูล โพตส์เมื่อวันที่  มี.ค. 2556
https://sites.google.com/site/payhawayrunpaccuban/payha-reuxng-kar-dod-reiyn

2. นักวิชาการชี้เด็กไทยวิกฤติทางความคิด เหตุจากระบบการศึกษา!
มศว. ชี้เด็กไทยขาดการใช้ความคิด วิจารณญาณ เหตุระบบการศึกษาไม่เอื้อให้เด็กคิด วิเคราะห์ ตั้งข้อสงสัย น่าเสียดายเด็กไทยสูญเสียการฝึกคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ผศ.ดร.อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์ ประธานค่ายเด็กเก่งสมองไว  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า สังคมไทยมีระบบความคิดความเชื่อเกี่ยวกับเด็กที่ไม่ถูกต้อง การเรียนการสอนก็ไม่เคยเอื้อให้เด็กโต้แย้ง หรือตั้งข้อสงสัย และหาข้อพิสูจน์กับครู เด็กไทยส่วนใหญ่เชื่อในข้อมูลเดิมๆ ที่ครูสอน ทั้ง ๆ ที่ข้อมูลต่าง ๆ มีมากมาย และช่องทางการหาความรู้ก็มีเพิ่มมากขึ้น ส่วนการปลูกฝังให้เด็กมีความคิด และวิจารณญาณนั้นอยู่ในขั้นวิกฤต
       โดยในเด็กในประถมศึกษานั้น มีการสรุปเรื่องต่าง ๆ อย่างขาดความเหมาะสม เนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น ความรู้ไม่พอ วุฒิภาวะด้านต่าง ๆ ไม่เพียงพอ เด็กคิดว่าถูกเพราะบางส่วนมักถูกการยึดจากความคิดตนเองเป็นหลัก สืบเนื่องจากพัฒนาการของเด็กวัยนี้ที่มักยึดตนเองเป็นหลัก
       ดังนั้น การฝึกให้เด็กคิดอย่างมีวิจารณญาณจึงต้องฝึกเรื่องหลัก ๆ 2 เรื่องคือ
       1) การเรียนรู้ว่าจะถามอย่างไร
       2) เรียนรู้ว่าจะใช้เหตุผลอย่างไร
แหล่งอ้างอิงข้อมูล http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000024701

3.     7 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ
1.บรรยากาศเปิด
-สภาพในโรงเรียน/ห้องเรียน เอื้อต่อการเรียนการสอน
-เรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน
-มีการนำเข้าสู่บทเรียน เช่น ร้องเพลง เล่านิทาน
-มีสื่ออุปกรณ์หลากหลาย
-สนับสนุนให้เกิดความอยากรู้ อยากเห็น
-ห้องเรียนสะอาด สวยงาม
-ครูและนักเรียนทำตัวเป็นกันเอง
2.ครูเปิด
-เปิดกว้างให้นักเรียนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น
-รับรู้ใหม่ ๆ ทันเหตุการณ์

-มีการพัฒนาตนเองโดยศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ
-ให้โอกาสนักเรียนซักถามปัญหาที่สงสัย
-เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง
-ครูพร้อมที่จะทำการสอน
-ใช้คำถามจูงใจเด็ก
-ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
3.สื่อเปิด
-มีสื่อที่หลากหลายตามความสนใจเด็ก
4. จะจัดการเรียนการสอนอย่างไร จึงจะยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น

(อ้างอิงข้อมูล เอกสารลำดับที่ 6/2554 กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2)
ตัวร่วมที่เป็นวิธีการหรือเทคนิคที่ประสบความสำเร็จในการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่
        1. ครูต้องรู้จริงและรู้แจ้งในเนื้อหาสาระวิชาที่สอน
        2. มีการวิเคราะห์ และจำแนกผู้เรียนเป็นกลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน เพื่อพัฒนาให้ตรงกับความสามารถของนักเรียน
        3. ครูสอนเต็มที่ เต็มหลักสูตร เต็มเวลา ด้วยความเต็มใจ
        4. ฝึก ย้ำ ซ้ำ ทวน อยู่เสมอเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะในการเรียนรู้ที่คงทน
        5. ครูทำวิจัยชั้นเรียนเพื่อพัฒนาความสามารถของนักเรียนเป็นรายคน

        6. ไม่ได้มุ่งเป้าหมายว่าจะของบประมาณให้มากแล้วผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะสูงขึ้น
5. ปัญหาการศึกษาไทยในปัจจุบัน
                     มาตรา ๔๘ แห่งร่างรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 บัญญัติไว้ว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย..."แต่ที่ผ่านมาปัญหาการศึกษาของไทยกลับถูกสั่งสมและเพิ่มพูนมากยิ่งขึ้นหากจะแบ่งปัญหาการศึกษาออกเป็นส่วนๆอาจจะสามารถนำเสนอได้ดังนี้
1. ปัญหาระดับจุลภาค คือหน่วยย่อยที่สามารถมองเห็นภาพของปัญหาได้ชัดเจนที่สุด
1.1 บุคคล
1.1.1 บุคลากรทางการศึกษา
บุคลากรทางการศึกษาคือผู้ที่นำพาองค์กรและสถานศึกษาให้ก้าวไปสู่วิถีแห่งการเพิ่มพูนประสิทธิภาพขององค์กรนั้นๆ แต่ในความเป็นจริงบุคลากรทางการศึกษาโดยเฉพาะผู้บริหาร เช่น ผอ.สพท. รอง ผอ.สพท. ผอ.สถานศึกษา รอง ผอ.สถานศึกษา มักจะมีข้อแม้หรือเงื่อนไขต่างๆในการปฏิบัติงานอยู่เสมอ ทั้งด้านผลประโยชน์และความก้าวหน้าทางหน้าที่ คงมิใช่เรื่องแลกที่จะได้ยินข่าวการเรียกรับเงินกับการอำนวยความสะดวกในการขอย้ายเข้าพื้นที่มาลงในตำแหน่งที่ว่างอยู่ หรือการับเงินเป็นการส่วนตัว(มิใช่กรณีโควตาของสมาคมผู้ปกครองและครู)ระหว่างผู้บริหารสถานศึกษากับผู้ปกครองที่ต้องการให้ลูกเข้าเรียนโรงเรียนที่มีชื่อเสียง สิ่งเหล่านี้หรือคือคุณสมบัติของผู้นำองค์กรทางการศึกษา และประเด็นที่สำคัญคือความไม่เข้าใจและไม่เป็นเอกภาพของข้าราชการ เพราะ สพท. ในปัจจุบันได้รวมข้าราชการของ กรมสามัญและ สปช. เดิมเข้าด้วยกัน ทำให้บางครั้งผู้บริหารที่มาจากตำแหน่งในกรมสามัญไม่เข้าในสภาพการจัดการศึกษาและศักยภาพของครูที่เคยสังกัด สปช.มาก่อน ผลที่เกิดขึ้นคือการต่อต้านเงียบ อันจะส่งผลให้กระบวนการทางการศึกษาไม่มีการพัฒนามีแต่จะทรงกับทรุด
 แหล่งอ้างอิงข้อมูล http://www.kroobannok.com/blog/31911
  ปัญหาที่เกี่ยวข้องโดยตรง 

           6. มีนักเรียนหลายคนที่ไม่ชอบเรียนวิชาสังคมศึกษาโดยมี

แหล่งอ้างอิงข้อมูล http://www.suanboard.net/home.php

ผลจากการสำรวจวิชาเรียนที่นักเรียนไม่อยากเรียนมากที่สุดพบว่า วิชาสังคมศึกษาเป็นวิชาแรกๆ ที่นักเรียนไม่อยากเรียนดังที่ กรุงเทพโพล สำรวจนักเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 7-8 มกราคม 2552 พบว่า 5 อันดับแรกของวิชาเรียนที่นักเรียนไม่ชอบเรียนมากที่สุด ได้แก่ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย สังคมศึกษา และวิทยาศาสตร์ ตามลำดับ โดยนักเรียนให้เหคุผลว่าไม่ชอบวิชาสังคมศึกษา
-                   เพราะว่า เรียนแล้วเครียด ต้องเขียนเยอะ และไม่ชอบท่องจำ
-                   จากผลการสำรวจความคิดเห็นดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า มีนักเรียนอีกจำนวนมากที่เรียนวิชาสังคมศึกษา แบบไร้ความสุขในการเรียน แต่จำเป็นต้องเรียน เพราะหลักสูตรกำหนดให้เรียน และต้องใช้ผลการเรียนเพื่อประโยชน์ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย(สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย) ถ้าเราไม่สามารถปฏิเสธการเรียนวิชาสังคมศึกษาได้ เราลองมาทำความรู้จัก กับวิชาสังคมศึกษา

7.     อ้างอิงข้อมูล  https://www.gotoknow.org/posts/124042 โพสต์โดยนาย วุฒิพงศ์ ยอดน้ำคำ 2551
จากประสบการณ์การเรียนการสอนที่ผ่านมาในรายวิชาสังคมศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ทำให้พบกับปัญหา
1.นักเรียนขาดความสนใจในการเรียน
2.ไม่ชอบเรียนวิชาสังคมศึกษา

3.น่าเบื่อ เรียนแล้วง่วง สาเหตุเนื่องจาก กิจกรรมการเรียนการสอนส่วนใหญ่ของวิชาสังคมเป็นการบรรยาย ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย และไม่ค่อยสนใจเรียนวิชาสังคมศึกษา ซึ่งครูก็ต้องหาวิธีการต่าง ๆ มาช่วยสอนเพื่อให้นักเรียน กลับมาสนใจตั้งใจเรียนมากขึ้น
8. ปัญหาการสอนวิชาสังคมศึกษาทั้งประถมและมัธยมศึกษาแบบบรรยายโดยมีครูเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ
1. ครูจะยืนอยู่หน้าชั้นเรียนสอนเนื้อหาสิ่งเดียวกันในเวลาเดียวกันต่อนักเรียนจำนวนมาก
       2. ครูส่วนใหญ่ก็จะตั้งความหวังไว้ว่านักเรียนทุกคนจะต้องเรียนได้เท่าๆกัน ซึ่งขัดกับหลักจิตวิทยาว่าด้วยความแตกต่างระหว่างบุคคล ที่คนแต่ละคนมีความสนใจ ความสามารถ ความถนัด และมีวิธีเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้เรียนแต่ละคนจะรับความรู้ที่ถ่ายทอดได้ไม่เท่ากัน
3. การสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลางเพียงอย่างเดียวจะไม่ตอบสนองความแตกต่างรายบุคคลได้ครบทั้งหมด จึงทำให้ผู้เรียนบางส่วนเกิดความเบื่อหน่าย ไม่อยากเรียน และเกิดพฤติกรรมต่างๆที่ครูคิดว่าเป็นปัญหา
แหล่งอ้างอิงข้อมูล 
9. ประเด็น เรียนสังคมให้เก่ง ไม่ใช่เรื่องยาก 
แหล่งอ้างอิงข้อมูล http://www.dek-d.com/education/27172/  โพสต์ เมื่อวันที่ 03/01/2555,

"วิชาสังคมศึกษา" แค่ได้ยินชื่อวิชาขึ้นมา หลายคนก็เตรียมหมอนนอนรอแล้ว ว่าเด็กไทยแปลกดีนะ พวกวิชาคำนวณ อย่างคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ก็ไม่ชอบ ภาษาต่างประเทศก็ไม่ชอบ วิชาง่ายๆ อย่างภาษาไทยก็ไม่ชอบ ส่วนวิชาสังคมยิ่งไม่ต้องพูดถึง เข้าไปหลับอย่างเดียว
สาเหตุที่น้องๆ ไม่ค่อยชอบวิชานี้ สรุปมาดังนี้
  1. เนื้อหาเยอะมาก ไม่รู้จะเยอะไปไหน เรียนสิบปีก็ยังไม่หมดซักที
  2. เป็นวิชาที่ยาก ใช้ความจำล้วน คนความจำสั้นอย่างเราก็จำไม่เคยได้ซักที
                3. ไม่รู้ว่าเรียนแล้วเอามาใช้อะไร
10. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง แผนที่ โดยใช้บทเรียนชุดสื่อประสม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
(กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยในชั้นเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 159 คน โรงเรียนทุ่งตะโกวิทยา อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553)
จากสภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้ในวิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมในภาพรวมระดับประเทศยังไม่บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร โดยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานซึ่งจากผลการประเมินคุณภาพนักเรียนระดับประเทศซึ่งในการจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษา ได้มีการนำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 มาใช้ในการเรียนการสอน โดยในหลักสูตรจะเน้นผู้เรียนให้พร้อมในทุกด้าน เช่น ด้านวิชาการ การมีสมรรถนะ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานได้บรรจุวิชาภูมิศาสตร์ไว้ในสาระการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นวิชาที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจในเรื่องของลักษณะของโลกทางกายภาพ ตระหนักความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งที่ปรากฏตามธรรมชาติ ซึ่งมีผลต่อชีวิตของมนุษย์ การใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหาข้อมูลภูมิศาสตร์สารสนเทศจะนำไปสู่การใช้และจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและเข้าใจถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและมีจิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
 โดยลักษณะเนื้อหาที่เรียนในวิชาสังคมค่อนข้างจะเป็นนามธรรม ซึ่งยากต่อความเข้าใจโดยเฉพาะวิชาภูมิศาสตร์ที่มีเนื้อหามาก และการเรียนการสอนจะเป็นในรูปแบบการบรรยาย จึงทำให้ผู้เรียนไม่เกิดการเรียนรู้และขาดความรู้ที่จะนำเป็นประยุกต์ใช้ และจากการเรียนการสอนที่ยากทั้งเนื้อหาและยากต่อการทำความเข้าใจ ทำให้นักเรียนขาดความกระตือรือร้นในการเรียน การทำกิจกรรม จากปัญหาที่พบในการสอนวิชาสังคมศึกษา ก็คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงต่ำ  ครูจึงต้องปรับเปลี่ยนแนวการสอน และรูปแบบกิจกรรมให้น่าสนใจมากขึ้น โดยเน้นกระบวนการเรียนที่มีระบบ นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ให้ประสิทธิภาพและให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนให้มากที่สุด โดยใช้สื่อที่เหมาะสมกับกับการเรียนการสอนในปัจจุบัน ซึ่งมีการใช้สื่อหลายแบบ ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยจัดทำในรูปแบบบทเรียนชุดสื่อประสม โดยจะผลิตออกมาให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่ใช้ในการสอนอย่างเป็นระบบ และจัดทำในโปรแกรม Power point เป็นสื่อที่ช่วยเร้าความสนใจผู้เรียน มีทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี โดยจากการศึกษาผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับการนำการเสนอด้วย รูปแบบบทเรียนชุดสื่อประสม ไปใช้ในกระบวนการสอน พบว่า รูปแบบบทเรียนชุดสื่อประสมที่สร้างขึ้นและผ่านขั้นตอนการวิจัยอย่างมีระบบแล้ว ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ มีประโยชน์ต่อผู้เรียน

แหล่งอ้างอิงข้อมูล http://www.vcharkarn.com/vcafe/190934




11.  การดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์ (O-NET) ปีการศึกษา 2554  วิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  ของโรงเรียนที่มีผลคะแนนการสอบ O-NET สูงหรือมีคะแนนการพัฒนาสูงขึ้น (อ้างอิงข้อมูล สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 9)
10.1 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย   โดยคุณครูสุดา  จุลลัษเฐียร  ดำเนินการดังนี้ 
1. ด้านครูผู้สอน - จัดระบบติวเสริมเนื้อหาเขม้ในชั่วโมงคาบอบรม - สอนตรงตามตัวชี้วัด พยายามเพิ่มทักษะการคิดวิเคราะห์ต่าง ๆ - วิเคราะห์ข้อสอบ O-NET แต่ละปี แยกน้ำหนักเนื้อหา
2. ด้านผู้เรียน - ก่อนสอนระบุถึงการสอนแต่ละหน่วยการเรียนรู้  เนื้อหาต่าง ๆ มุ่งให้เกิดการ เรียนรู้อย่างไร - ซักถามผู้เรียนถึงการสนใจที่จะเรียนรู้ในเรื่องใดก่อน-หลัง - วิเคราะห์ร่วมกับผู้เรียนถึงปัญหาการเรียนรู้ในเนื้อหาในสาระสังคมฯว่ามีจุดดี  จุด ด้อยอย่างไรบ้าง - ส่งเสริมให้ผู้เรียนมองผังการสร้างมโนทัศน์ เนื้อหาก่อนเรียน - ทำกิจกรรมเสริมในท้ายชั่วโมงที่ผู้เรียนจะต้องสรุปความคิดรวบยอด  1.3 ด้านผู้บริหารหรือการบริหารจัดการ -  สนับสนุนเอกสารความรู้ - จัดครูในการสอนติวความรู้ - จัดหาเอกสารความรู้ในการเพิ่มเติมสาระวิชา 1.4 ด้านอื่น ๆ ที่โรงเรียนได้ปฏิบัติ -  แจกเอกสารความรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่ควรรู้แก่ครู - ส่งเสริมให้นักเรียนแข่งขันทางวิชาการอย่างหลากหลาย  
10.2. โรงเรียนกัลยาณวัตร   โดยคุณครูอุบล  เจริญศิริ   ดำเนินการดังนี้
1. ด้านครูผู้สอน -  สอนเนื้อหาสาระตามตัวชี้วัด ตามหลักสูตรแกนกลางให้ครบตามมาตรฐาน ตัวชี้วัด – ฝึกให้นักเรียนทำข้อสอบ O-NET โดยนำข้อสอบมาให้นักเรียนฝึกทำเพื่อให้เกิด ความคุ้นชินในข้อสอบ – ขณะสอนกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการสอบ O-NET ว่ามีผลดีอย่างไร กับนักเรียน - จัดหาข้อสอบและแบบฝึกหัดให้นักเรียนไปฝึกทำแล้วกลับมาเฉลยและร่วม อภิปรายในชั้นเรียน - จัดติว O-NET ให้นักเรียน ม.3 ทุกคนในการสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม ซึ่ง นักเรียน ม.3 จะต้องมารวมกันเพื่อติว  และเพิ่มพูนความรู้ทุกกลุ่มสาระทั้ง 8 กลุ่มสาระ  โดยจัดครูที่สอน ม.3รับผิดชอบทุกกลุ่มสาระ
2.  ด้านผู้เรียน -  ครูกระตุ้นนักเรียนโดยพูดถึงความสำคัญของการสอบข้อสอบ O-NET เสมอ - สนับสนุนให้นักเรียนทําข้อสอบได้อย่างทั่วถึงทุกคน  โดยการจัดหาข้อสอบให้ - แนะนำให้นักเรียนค้นคว้าแนวข้อสอบจากเว็บไซด์ต่าง ๆ
3. ด้านผู้บริหารหรือการบริหารจัดการ - ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ การจัดหาข้อสอบ  และอาจารย์ที่มีความรู้ ความสามารถในการให้ความรู้แก่นักเรียน 4. ด้านอื่น ๆ ที่โรงเรียนได้ปฏิบัติ
 -  จัดสอนซ่อมเสริม  และติวนักเรียน ม.3 ก่อนสอบ O-NET โดยใช้คาบสร้างเสริม คุณธรรม จริยธรรม  ซึ่งนักเรียน ม.3 ว่างตรงกันทุกวันจันทร์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น