วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ทฤษฎีพัฒนานวัตกรรม

ทฤษฎีคลื่นยาว (Long Wave Cycle)
เจ้าของแนวคิดทฤษฎี คือ คอนดราเที๊ยฟมีชื่อเต็มว่า  Nikolai Dmitrievich Kondratieff เกิดเมื่อปี 2435และสันนิษฐานว่าตายปี 2474 (ยังไม่แน่นอน) ชื่อของคอนดราเที๊ยฟ มีการสะกดใหม่เป็น Kondratiev ในหมู่คนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการเขาเกิดในสหภาพโซเวียตรัสเซียตามแฟ้มประวัติในซีกโลกตะวันตกรู้จักเขาในฐานะเป็นนักเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ที่ ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับทฤษฎีคลื่นยาวในช่วงทศวรรษ 2460 คอนดราเที๊ยฟสนใจค้นคว้าทฤษฎีคลื่นยาวในช่วงปี2462-2471เนื่องจากเขาได้รับแรงกระตุ้นจากนักเศรษฐศาสตร์บรมครูของรัสเซียนักศาสตราจารย์ Tugen-Baranovsky คอนดราเที๊ยฟเสนอทฤษฎีคลื่นยาวของเขาครั้งแรกปี2465โดยงานของเขาได้ถูกหยิบเอามาพิจารณาซึ่งเราสามารถเห็นในงานของโจ เสฟ ชุมปีเตอร(Joseph Schumpeter) ที่ เรียกว่าคลื่นยาวคอนดราเที๊ยฟซึ่งมีผลอย่างมากที่เราจะเอามากล่าวกันในวิกฤติเศรษฐกิจโลกใน ปัจจุบันที่กำลังเผชิญอยู่
สาระสำคัญของทฤษฎีคลื่นยาว พัฒนาขึ้นจากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ผ่านมาในยุคต่างๆซึ่งเชื่อว่าวัฎจักรการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีแต่ละรอบใช้เวลาประมาณ 50 ปีโดยวัฎจักรที่1 เริ่มขึ้นในการปฎิวัติอุตสาหกรรม(ค.ศ.1780-1830)และเชื่อว่าปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอยู่ในวัฎจักรที่ (ค.ศ.1980-2030)ซึ่งเป็นยุคของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์การสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีชีวภาพ ทฤษฎีคลื่นยาวแบ่งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในแต่ละรอบวัฏจักรออกเป็น 4 ช่วงโดยลักษณะของการพัฒนาเทคโนโลยีและการแข่งขันในแต่ละช่วงของการเปลี่ยนแปลงในหนึ่งรอบวัฏจักรส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนานวัตกรรมในช่วงนั้นๆ
1.ช่วงฟื้นฟู (Recovery) เป็นช่วงมีการคิดค้นนวัตกรรมและเกิดการพัฒนานวัตกรรมสินค้าและ/หรือบริการซึ่งนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นใหม่สามารถตั้งราคาขายได้สูงผู้ประกอบการจึงได้รับผลกำไรที่ดีจึงเป็นแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการรายอื่นเข้ามาแข่งขันในตลาดเพิ่มมากขึ้นทำให้การพัฒนานวัตกรรมและการเติบโตของตลาดในช่วงวัฏจักรนี้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
2.ช่วงรุ่งโรจน์ (Prosperity) เป็นช่วงที่นวัตกรรมเริ่มกระจายตัวออกสู่ตลาดที่กว้างขึ้นและมีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นซึ่งเมื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเป็นที่รู้จักมากขึ้นจึงส่งผลให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นรวมทั้งการลอกเลียนแบบตามมา
3.ช่วงถดถอย(Recession)เป็นช่วงที่ระดับการแข่งขันเพิ่มสูงมากขึ้นและการพัฒนาเทคโนโลยีและรูปแบบความหลากหลายของสินค้าหรือบริการเริ่มเข้าสู่จุดอิ่มตัวรูปแบบการแข่งขันจึงเป็นการแข่งขันด้านราคาส่งผลให้ธุรกิจทำกำไรได้ยากขึ้นและทำให้ธุรกิจต้องกลับมาพิจารณาปรับปรุงกระบวนการพัฒนานวัตกรรม(process innovation)เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

4.ช่วงตกต่ำ(Depression)เป็นช่วงสุดท้ายของวัฎจักรการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นช่วงที่ทั้งการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและการเติบโตของตลาดถึงจุดอิ่มตัวเต็มที่การแข่งขันด้านราคาเข้าสู่ขั้นวิกฤตทำให้บริษัทมีกำไรลดลงจนอาจมีการควบรวมบริษัทเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ
สรุปทฤษฎีคลื่นยาวใช้สถิติประชากรศาสตร์แบบวิถีการใช้จ่ายและแบบวิถีของการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของคนทั้งสังคมใน ช่วงวัย  ต่างๆ ในแต่ละปีล่วงหน้าเป็นระยะเวลากว่าร้อยปี ทำให้สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าถึงสภาวะการเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจทั้งระบบได้