วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การคิดอย่างมีวิจารณาญาณ

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ  (Critical Thinking)
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ( Critical Thinking) เป็นการคิดที่มีกระบวนการทางปัญญาอย่าง เป็นระบบโดยมีการคิดพิจารณาใคร่ครวญ  ไตร่ตรองอย่างมีเหตุผลรอบด้าน  มีจุดมุ่งหมายเพื่อการ ตัดสินใจว่าสิ่งใด  ข้อความใดเป็นจริง  ซึ่งจะต้องอาศัยข้อมูลหลักฐานต่าง ๆ มาประกอบการคิดและ การตัดสินใจ  บุคคลที่รู้จักใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณย่อมจะเป็นผู้ที่กระทำกิจกรรมงานต่าง ๆ ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ  สังคมใดที่สมาชิกรู้จักใช้การคิดอย่างมี วิจารณญาณย่อมเกิดความสงบสุข  ส่งผลต่อความสงบเรียบร้อย  ความมั่นคงต่อประเทศชาติ 
 ความหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ    
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ( Critical Thinking) เป็นการคิดที่มีกระบวนการทางสมอง          ที่มีความซับซ้อน  ซึ่งมีนักจิตวิทยา  นักการศึกษาหลายคนได้ให้คำนิยามความหมายไว้  เช่น    Dewey (1933 : 9) ได้ให้ความหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณว่าเป็นการคิดย่าง ใคร่ครวญไตร่ตรอง  เริ่มต้นจากสถานการณ์ที่มีความยุ่งยาก  และสิ้นสุดลงด้วยสถานการณ์ที่มี ความชัดเจน    Hilgard (1962 : 336) ได้ให้ความหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณว่า  หมายถึง  ความสามารถในการตัดสินข้อความหรือปัญหาว่าเป็นข้อเท็จจริงหรือเป็นเหตุเป็นผลกัน    Good (1973 : 680) ได้ให้ความหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณว่าหมายถึง  การคิด อย่างรบคอบตามหลักของการประเมินและมีหลักฐานอ้างอิง  เพื่อหาข้อสรุปที่น่าจะเป็นไปได้  ตลอดจนพิจารณาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องทั้งหมดและใช้กระบวนการทางตรรกวิทยาได้อย่าง ถูกต้อง  สมเหตุสมผล    Ennis (1985 : 46) ได้หึความหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณว่าหมายถึง  การคิด พิจารณาไตร่ตรองอย่างมีเหตุผลที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการตัดสินใจว่า  สิ่งใดควรเชื่อหรือสิ่งใดควรทำ ช่วยให้ตัดสินใจสภาพการณ์ได้อย่างถูกต้อง  สรุปได้ว่าการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  หมายถึง  กระบวนการคิดที่ใช้เหตุผลโดย มีการศึกษา ข้อเท็จจริง  หลักฐาน  และข้อมูลต่าง ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจ  แล้วนำมาพิจารณาวิเคราะห์ อย่างสมเหตุสมผล  ก่อนตัดสินใจว่าสิ่งใดควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อ  ผู้ที่มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ  จะเป็นผู้มีใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผลไม่ยึดถือความคิดเห็นของตนเอง  ก่อนจะตัดสินใจในเรื่องใดก็จะต้องมีข้อมูลหลักฐานเพียงพอและสามารถเปลี่ยนความคิดเห็นของ ตนเองให้เข้ากับผู้อื่นได้  ถ้าผู้นั้นมีเหตุที่เหมาะสมถูกต้องกว่า  เป็นผู้มีความกระตือรือร้นในการ ค้นหาข้อมูลและความรู้  กล่าวได้ว่าผู้มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณจะเป็นผู้มีเหตุผล

  คุณลักษณะของผู้ที่คิดอย่างมีวิจารณญาณ   
ประพันธ์ศิริ  สุเสารัจ ( 2551 : 102) สรุปคุณลักษณะของผู้ที่คิดอย่างมีวิจารณญาณว่าประกอบด้วย 5 ลักษณะสำคัญ  ดังนี้   
1. เป็นผู้มีใจกว้าง คือ ยอมรับฟังและพิจารณาความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ยึดมั่นใน ความคิดของตนเองเป็นหลัก ไม่อคติ มีใจเป็นกลาง และตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลประกอบเพียงพอ การมีใจกว้างขวางจะทำให้ได้ข้อมูลที่กว้างขวาง หลากหลาย มากพอต่อการใช้ในการตัดสินใจได้ดี มากขึ้น 
2. มีความไวต่อความรู้สึกของผู้อื่นเข้าใจผู้อื่น การมีความรู้สึกที่ไวจะทำให้สามารถ รับรู้สถานการณ์ ความคิด ความรู้สึกของผู้อื่นได้ดีกว่า 
3. เปลี่ยนความคิดเห็นที่ตนมีอยู่ได้ ถ้ามีข้อมูลที่มีเหตุผลมากกว่า 
4. กระตือรือร้นในการค้นหาข้อมูลและความรู้ การมีข้อมูลและความรู้มาก ทำให้การ ตัดสินใจย่อมถูกต้องและแม่นยำ การคิดวิจารณญาณต้องการข้อมูล ความรู้มากๆเพื่อประกอบใน การตัดสินใจ แม้ว่าบางข้อมูลอาจมีประโยชน์น้อยก็ตาม
 5. เป็นผู้มีเหตุผล ไม่ใช้อคติหรืออารมณ์ในการตัดสินใจ การยอมรับข้อมูลใดๆหรือ การตัดสินใจใดๆ จะไม่เชื่อมั่นในตัวบุคคลหรืออารมณ์ ข้อมูลที่มีเหตุผลจะทำให้การตัดสินใจดีกว่า    ครูจึงควรต้องจัดบรรยากาศ และกิจกรรมที่เสริมสร้างคุณลักษณะต่างๆ ดังกล่าวให้เกิด ขึ้นกับผู้เรียน เพื่อปลูกฝังความเป็นนักคิด 
 แนวทางจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการคิดให้กับเด็กและเยาวชนประพันธ์ศิริ  สุเสารัจ ( 2551 : 102-103) สรุปแนวทางจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการคิด ให้กับเด็กและเยาวชน ดังนี้ 
1. สร้างความกระตือรือร้น อยากรู้ อยากเห็น ( Curiosity) โดยต้องได้รับการกระตุ้นยั่วยุ โดยใช้สื่อ คำถาม กิจกรรม 
2. ฝึกให้มีความกล้าเสี่ยง ( Risk Taking) กล้าคิดแตกต่างไปจากคนส่วนใหญ่ กล้า เสี่ยงที่จะสร้างสิ่งใหม่หรือแตกต่างจากเดิม โดยใช้สถานการณ์ที่ยั่วยุให้คาดการณ์และคาดเดาสิ่ง ต่างๆ ซึ่งอาจมีคำตอบหลายๆแนวทาง 
3. ความยุ่งยากซับซ้อน ( Complexity) ความยุ่งยากซับซ้อนจะทำให้เกิดการพัฒนา ความคิดระดับสูงได้ ต้องพัฒนาจากง่ายไปหายาก กิจกรรมที่ใช้และระดับความยากง่ายต้อง สอดคล้องเหมาะสมกับเด็กแต่ละคน
4. กระตุ้นให้เกิดจินตนาการ ( Imagination) เด็กต้องได้รับการกระตุ้นให้มีความคิด จินตนาการ สร้างสรรค์อย่างหลากหลาย ทั้งที่เป็นการจินตนาการจากภาพ จากนิทาน จาก ประสบการณ์เดิม จากเหตุการณ์สิ่งแวดล้อมรอบตัว จากความรู้สึกของตนเอง 5. ฝึกฝนให้ใจกว้าง ( Open Mind) เด็กควรได้รับการฝึกฝนให้ทำงานกลุ่มการ อภิปรายกลุ่ม การรับฟังและยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น ยอมรับในเหตุผลและข้อมูลของกลุ่ม หรือของคนอื่นที่ดีกว่าหรือมีมากกว่า  6. สร้างความมั่นใจในตนเอง (Self Confidence) ความมั่นใจในตนเอง จะทำให้เด็ก ได้มีพัฒนาการการคิด และกล้าแสดงออกซึ่งความคิด การเลือกสรรกิจกรรมที่หลากหลาย และ เหมาะสม จะทำให้เด็กกล้าแสดงออก เริ่มจากการตั้งคำถามง่ายๆ การแสดงออกอย่างง่ายแล้วยากขึ้น ตามลำดับ การเล่นและการท างานเป็นกลุ่ม แล้วลดลงจนเหลือคนเดียว ซึ่งการแสดงออกของเด็ก ต้องได้รับกำลังใจและการสนับสนุน จะทำให้เด็กมีความมั่นใจมากขึ้น     ประโยชน์ของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ    สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ (2552 : 72-73) สรุปประโยชน์ของการรู้จักนำ าวิธีคิด อย่างมีวิจารณญาณไปใช้ในการดำเนินชีวิตย่อม ดังนี้     
1. มีความมั่นใจในการเผชิญต่อปัญหาต่างๆ และแก้ไขปัญหานั้น ๆ ได้ถูกทาง     2. สามารถตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมและมีเหตุผล     3. มีบุคลิกภาพดี  เป็นคนสุขุมรอบคอบ  ละเอียดลออ  ก่อนตัดสินใจในเรื่องใด จะต้องมีข้อมูลหลักฐานประกอบ  แล้ววิเคราะห์ด้วยเหตุผลก่อนตัดสินใจ     4. ทำกิจการงานต่าง ๆ ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดอย่างมีคุณภาพ เนื่องจากมีระบบความคิดอย่างเป็นขั้นตอน     5. มีทักษะในการสื่อสารกับผู้อื่นได้ดี  ทั้งด้านการอ่าน  เขียน  ฟัง  พูด     6. การพัฒนาวิธีคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่เสมอ  ส่งผลให้สติปัญญาเฉียบแหลม พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างต่อเนื่องในสถานการณ์ของโลกที่มีการ เปลี่ยนแปลง     7. เป็นผู้มีความรับผิดชอบ  มีระเบียบวินัย 8. เป็นผู้ปฏิบัติงานอยู่บนหลักการและเหตุผล  ส่งผลให้งานสำเร็จอย่างมีคุณภาพ   
   องค์ประกอบของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
นักการศึกษาหลายท่านได้อธิบายเกี่ยวกับองค์ประกอบของการคิดอย่างมีวิจารณญาณไว้ ดังนี้    Feeley (1976) ได้แยกองค์ประกอบของการคิดอย่างมีวิจารณญาณไว้ 10 ประการคือ     1. การแยกความแตกต่างระหว่างข้อเท็จจริง  และความรู้สึกหรือความคิดเห็น    
2. การพิจารณาความเชื่อถือได้ของแหล่งข้อมูล     
3. การพิจารณาความถูกต้องตามข้อเท็จจริงของข้อความนั้น      
4. การแยกความแตกต่างระหว่างข้อมูล  ข้อคิดเห็น  หรือเหตุผลที่เกี่ยวข้องและไม่ เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น    
5. การค้นหาสิ่งที่เป็นอคติหรือความลำเอียง      
6. การระบุถึงข้ออ้าง  ข้อสมมติทีไม่กล่าวไว้ก่อน      
7. การระบุถึงข้อคิดเห็นหรือขัดโต้แย้งที่ยังคลุมเครือ      
8. การแยกความแตกต่างระหว่างข้อคิดเห็นที่สามารถพิสูจน์ความถูกต้องได้     9. การตระหนักในสิ่งที่ไม่คงที่ตามหลักการและเหตุผล   10. การพิจารณาความมั่นคงหนักแน่นในข้อโต้แย้งหรือข้อคิดเห็น     ชนาธิป  พรกุล ( 2544 : 177-178) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของการคิดอย่างมี วิจารณญาณมี 4 องค์ประกอบ  และในแต่ละองค์ประกอบจะมีทักษะที่สามารถนำมาใช้ในชั้นเรียน  ได้แก่      1. การให้คำจำกัดความและการทำให้กระจ่าง  ทักษะที่ฝึก  ได้แก่  การระบุข้อสรุป  การระบุเหตุผลที่กล่าวถึง  การระบุเหตุผลที่ไม่ได้กล่าวถึง  การเปรียบเทียบความเหมือนและความ แตกต่าง  การระบุและการจัดการกับสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องและการสรุปย่อ      2. การตั้งคำถามที่เหมาะสมเพื่อทำให้กระจ่างหรือถ้าทาย  เช่น  ข้อความสำคัญคือ อะไร  หมายความว่าอย่างไร  ตัวอย่างคืออะไร  อะไรไม่ใช่ตัวอย่างจะนำเรื่องนี้ไปประยุกต์ใช้ได้ อย่างไร  อะไรคือข้อเท็จจริง  นี่คือสิ่งที่กำลังพูดถึงหรือไม่  มรอะไรที่ยังไม่ได้พูดถึง      3. การตัดสินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล  โดยพิจารณาจากความมีชื่อเสียง  ความสอดคล้องกันระหว่างแหล่งข้อมูล  ความไม่ขัดแย้งประโยชน์  ความสามารถในการให้เหตุผล      4. การแก้ปัญหาและการลงข้อสรุป  โดยวิธีการนิรนัยและตัดสินอย่างเที่ยงตรง วิธีการอุปนัยและตัดสินข้อสรุปการคาดคะเนผลที่จะเกิดตามมา 
     เพ็ญพิศุทธิ์  เนคมานุรักษ์ ( 2537)  ได้แบ่งองค์ประกอบของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็น 7 ด้าน  คือ     
1. การระบุประเด็นปัญหา  เป็นการระบุหรือทำความเข้าใจกับประเด็นปัญหา  ข้อ คำถาม  ข้ออ้าง  หรือข้อโต้แย้ง  ประกอบด้วย  ความสามารถในการพิจารณาข้อมูลหรือสถานการณ์ ที่ปรากฏ  รวมทั้งความหมายของคำหรือความชัดเจนของข้อความ  เพื่อกำหนดประเด็นข้อสงสัย และประเด็นหลักที่ควรพิจารณา  และการแสวงหาคำตอบ      
2. การรวบรวมข้อมูล  เป็นความสามารถในการรวบรวมข้อมูลทั้งทางตรงและ ทางอ้อมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงการรวมข้อมูลจากประสบการณ์เดิมที่มีอยู่  ซึ่งได้จากการคิด  การพูดคุย  การังเกตที่เกิดขึ้นจากตนเองและผู้อื่น      
3. การพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล  เป็นการวัดความสามารถในการ พิจารณา  ประเมิน  ตรวจสอบ  ตัดสินข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ  โดยพิจารณาถึงที่มาของ ข้อมูลสถิติ  และหลักฐานที่ปรากฏ  รวมทั้งความเพียงพอของข้อมูลในแง่มุมต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การ ลงข้อสรุปอย่างมีเหตุผล  หากยังไม่เกี่ยวข้องที่จะใช้พิจารณาลงข้อสรุป  ก็จะต้องรวบรวมข้อมูล เพิ่มเติม     
4. การระบุลักษณะของข้อมูล  เป็นการวัดความสามารถในการจำแนกประเภทของ ข้อมูล  ระบุแนวคิดที่อยู่เบื้องต้นหลังข้อมูลที่ปรากฏ ซึ่งประกอบด้วยความสามารถในการ พิจารณาแยกแยะเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูล  การตีความข้อมูล  ประเมินว่าข้อมูลใดเป็น ข้อเท็จจริง  ข้อมูลใดเป็นข้อคิดเห็นรวมถึงการระบุข้อสันนิษฐานหรือข้อตกลงเบื้องต้นที่อยู่เบื้องหลังข้อมูลที่ปรากฏเป็นการนาความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ที่อาศัยข้อมูลจาก ประสบการณ์เดิมมาร่วมพิจารณา  เพื่อทำการสังเคราะห์จัดกลุ่มและจัดลำดับความสำเร็จของ ข้อมูลเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการพิจารณาตั้งสมมติฐานต่อไป     
5. การตั้งสมมติฐานเป็นการวัดความสามารถเหนือกำหนดขอบเขต  แนวทางการ พิจารณาหาข้อสรุปของคำถาม  ประเด็นปัญหา  และข้อโต้แย้ง  ประกอบด้วยความสามารถในการ คิดถึงความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างข้อมูลที่มีอยู่  เพื่อระบุทางเลือกที่เป็นไปได้  โดยเน้นที่ ความสามารถพิจารณาเชื่อมโยงเหตุการณ์และสถานการณ์      6. การลงข้อมูล  เป็นวัดความสามารถในการลงข้อสรุปโดยการใช้เหตุผลซึ่งถือว่า เป็นส่วนสำคัญของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  ในการลงข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลนั้นอาจใช้ เหตุผลเชิงอุปนัยหรือเหตุผลเชิงนิรนัย - การให้เหตุผลเชิงอุปนัย  เป็นการสรุปความโดยพิจารณาข้อมูล หรือกรณี เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะเรื่อง เพื่อไปสู่กฎเกณฑ์ในที่นี้เป็นการวัดความสามารถในการสรุปความ
เหตุการณ์  หรือข้อมูลที่กำหนดเป็นคำถามโดยใช้ข้อมูลหรือข้อความที่บอกมาเป็นเหตุผลหรือ กฎเกณฑ์เพื่อการหาข้อสรุป        - การใช้เหตุผลเชิงนิรนัย  เป็นการสรุปความโดยพิจารณาเหตุผลจากกฎเกณฑ์และ หลักการทั่วไป  ไปสู่เรื่องเฉพาะ  ซึ่งเป็นการวัดความสามารถในการสรุปความโดยพิจารณาจาก หลักการหรือกฎเกณฑ์ทั่วไปที่กำหนดไว้  แล้วตัดสินใจลงข้อสรุปในประเด็นคำถาม   7. การประเมินผล เป็นการสัดความสามารถในการพิจารณา  ประเมินความถูกต้อง  สมเหตุสมผลของข้อสรุป  ซึ่งต้องอาศัยความสามารถในการวิเคราะห์และประเมินอย่างไตร่ตรอง รอบคอบ  เพื่อพิจารณาความสมเหตุสมผลเชิงตรรกะจากข้อมูลที่มีอยู่  ข้อสรุปนี้สามารถนำไปใช้ ประโยชน์ได้หรือไม่  มีผลตามมาอย่างไร  มีการตัดสินคุณค่าได้อย่างไร  และมีหลักเกณฑ์อย่างไรกล่าวได้ความเข้าใจกับประเด็นปัญหา  คำถาม  หรือสถานการณ์ที่พบ  แล้วมี การรวบรวมข้อมูลหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยการพิจารณาว่าข้อมูลใดมีเหตุผลน่าเชื่อถือหรือไม่ น่าเชื่อถือ  แล้วจึงสรุปเพื่อตัดสินใจ 
 กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ   ทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบด้วยทักษะที่สำคัญ ดังนี้     1. การนิยาม/ทำความกระจ่างกับปัญหา คือ ระบุปัญหาได้ ระบุสาระสำคัญ บอกจุดเด่น ของสิ่งต่างๆ หรือเรื่องราวต่างๆได้     2. การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ทักษะการเก็บรวบรวมข้อมูล สังเกตและ จำแนกแยกแยะข้อมูลได้ ระบุรายละเอียดได้ เปรียบเทียบ บอกความเหมือน ความต่าง ระบุจุดต่าง ของสิ่งต่างๆ จัดหมวดหมู่ข้อมูล     3. การสังเคราะห์ คือ เลือกใช้ข้อมูลได้ รู้ว่าข้อมูลใดชัดเจน คลุมเครือ ข้อมูลใดจำเป็น ไม่จำเป็น ข้อมูลใดน่าเชื่อถือ ไม่น่าเชื่อถือ สามารถนำข้อมูลมาประมวลแล้วสรุปเป็นความคิดได้    4. ประเมินและพิจารณาตัดสินข้อมูล คือ รู้ว่าข้อมูลใดเป็นข้อเท็จจริง ข้อมูลใดเป็น ความคิดเห็น สิ่งใดเกี่ยวข้อง ไม่เกี่ยวข้อง ระบุสิ่งที่เป็นอคติ การเข้าข้างตนเอง ขจัดอารมณ์ ความรู้สึก ระบุได้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด สิ่งใดควรเชื่อ สิ่งใดควรทำ สิ่งใดมีคุณค่า ไม่มีคุณค่า    ในการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนพัฒนาทักษะการคิด ครูหรือผู้ปกครอง อาจมีการ ฝึกฝนให้เด็กนักเรียนได้หลากหลายวิธี เช่น 1) เตรียมคำถามหรือสถานการณ์ที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตหรือ ให้คำตอบไว้แล้ว นำมาให้นักเรียนตัดสินใจว่าข้อสังเกตนั้น มีข้อสนับสนุน ข้อคัดค้าน หรือไม่มี ความเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงเลย  2) เตรียมข้อความ หรือสถานการณ์ที่เป็นเหตุเป็นผลกัน แล้วนำมา ให้นักเรียนสรุปจากข้อความหลักที่กำหนด และ 3) เตรียมข้อความหรือสถานการณ์ที่มี ความสัมพันธ์กัน แล้วนำมาให้นักเรียนตัดสินใจว่าข้อความใดจำเป็นที่สุด หรือจำเป็นต้องเกิดขึ้น ก่อนจึงจะสมเหตุสมผล   นักการศึกษาต่างก็ได้กล่าวถึงกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณไว้หลากหลาย  ดังนี้   Watson and Glaser (1964 : 24) ได้กล่าวถึงกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณว่า ประกอบด้วย  ทัศนคติ  ความรู้  และทักษะในเรื่องต่อไปนี้    1. การอุปนัย    2. การระบุสมมติฐาน    3. การอุปมาน    4. การตีความ    5. การประเมินการอ้างเหตุผล   Decaroli (1973 : 67-69) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ไว้อย่างสอดคล้องกัน ดังนี้    1. การนิยาม  เป็นการกำหนดปัญหา  ทำความตกลงเกี่ยวกับความหมายของคำ  และ ข้อความ  และกำหนดเกณฑ์ เป็นความสามารถในการระบุลักษณะของสิ่งต่างๆ ระบุปัญหาได้ รวบรวมสาระสำคัญและจุดเด่นของเรื่องราวต่างๆ    2. ทักษะการวิเคราะห์ เป็นการพัฒนาข้อมูลอย่างละเอียด แยกย่อยโดยการคำนึงถึง ความสัมพันธ์เชิงเหตุผล เพื่อทำความเข้าใจกับสิ่งนั้น จนสามารถประเมินค่าและตัดสินใจได้ สามารถสังเกต จำแนกแยกแยะ บอกรายละเอียดของสิ่งต่างๆ จุดต่าง จุดร่วมของสิ่งต่างๆ และ สามารถจัดหมวดหมู่ข้อมูล    3. ทักษะการสังเคราะห์ เป็นการประมวลผลข้อมูล ทักษะการระบุข้อมูลที่จำเป็น การ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวข้อง และจัดระบบข้อมูลแล้วสามารถเลือกใช้ข้อมูลได้ว่า ข้อมูลใดจำเป็น หรือไม่จำเป็น ข้อมูลใดน่าเชื่อถือ หรือไม่    4. การตีความข้อเท็จจริง  และการสรุปอ้างอิงจากหลักฐาน การระบุอคติ การลำเอียง    5. การใช้เหตุผลโดยระบุเหตุ  และความสัมพันธ์เชิงตรรกศาสตร์    6. การประเมินผล  โดยการตัดสินคุณค่าของสิ่งต่างๆ อย่างสมเหตุสมผล โดยนำผลที่ ได้ไปเปรียบเทียบกัน รู้ว่าข้อมูลใดเป็นข้อเท็จจริง เป็นข้อคิดเห็น ระบุได้ว่า สิ่งใดเป็นอคติ สิ่งใด เกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้อง สิ่งใดถูกหรือผิดจนสามารถตัดสินได้    7. การประยุกต์ใช้ หรือนำไปปฏิบัติในสถานการณ์ใหม่
    8. การประเมินความสำเร็จของคำตอบ โดยการใช้เกณฑ์ในการตัดสินความเพียงพอ ของคำตอบตามทฤษฎี   Kneedler  (1985 : 277 ; อ้างถึงใน อัครพนธ์  ศรีหาค า  2545 : 15 ; อ้างอิงจาก  Woolfolk. 1995 : 321)  ได้เสนอกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณว่ามีขั้นตอนดังต่อไปนี้  คือ    1. การนิยามและทำความกระจ่างกับปัญหา  ประกอบด้วย      1) การระบุประเด็นที่สำคัญหรือระบุปัญหา     2) การเปรียบเทียบความคล้ายคลึงละความแตกต่างของคน  ความคิด  วัตถุสิ่งของ     3) การตัดสินว่าข้อมูลใดชัดเจน  ข้อมูลใดคลุมเครือ  ข้อมูลใดเกี่ยวข้อง  ข้อมูลใดไม่ เกี่ยวข้อง  ข้อมูลใดมีความจำเป็น  ข้อมูลใดไม่มีความจำเป็น     4) การตั้งคำถามที่จะนำไปสู่ความเข้าใจที่ชัดเจนลึกซึ้งเกี่ยวกับเรื่องราวหรือ สถานการณ์    2. การพิจารณาตัดสินข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับปัญหา  ประกอบด้วย     1) จำแนกความแตกต่างระหว่างข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น     2) ตัดสินว่าข้อความนั้น  สิ่งนั้น  หรือสัญลักษณ์ที่กำหนดนั้น  มีความสอดคล้อง สัมพันธ์กัน  และสอดคล้องกันทั้งหมดหรือไม่     3) คาดเดาหรือระบุสมมติฐานที่ไม่ได้กล่าวไว้ในการอ้างเหตุผล     4) ระบุความคิดเดิม ๆ ที่คนยึดติด     5) ระบุความมีอคติ  ปัจจัยด้านอารมณ์  การโฆษณา  การเข้าข้างตนเอง     6) ระบุความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างค่านิยมและอุดมการณ์    3. การแก้ปัญหาและการลงข้อสรุป     1) ระบุความเพียงพอของข้อมูล  สามารถตัดสินใจว่าข้อมูลที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่     2) พยากรณ์ / ท านายผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้  Bloom (1961) and Gagne (1985) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ว่าเป็นกระบวนการที่เริ่มจากสัญลักษณ์ทางภาษา  จนโยงมาเป็นความคิดรวบยอด  เป็นกฎเกณฑ์ นำกฎเกณฑ์ไปใช้  โดยมีขั้นตอนดังนี้    1. สังเกต  ให้ผู้เรียนสังเกต  รับรู้  และพิจารณา  ข้อความ  หรือภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  ให้ทำกิจกรรมรับรู้  เข้าใจ  ได้ความคิดรวบยอดที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ สรุปเป็น ใจความสำคัญครบถ้วน  ตรงตามหลักฐานข้อมูล
   2. อธิบาย  ให้ผู้เรียนอธิบายหรือตอบคำถาม  แสดงความคิดเห็น  เห็นด้วยหรือไม่เห็น ด้วยกับสิ่งที่กำหนด  เน้นการใช้เหตุผลด้วยหักการ  กฎเกณฑ์  อ้างหลักฐานข้อมูลประกอบให้ น่าเชื่อถือ    3. รับฟัง  ให้ผู้เรียนได้ฟังความคิดเห็นที่แตกต่างจากความคิดเห็นของตน  ได้ฟังและ ตอบคำถามตามความคิดเห็นที่แตกต่างกัน  เน้นการปรับเปลี่ยนความคิดอย่างมีเหตุผล  ไม่ใช้ อารมณ์หรือถือความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่    4. เชื่อมโยงความสัมพันธ์ให้ผู้เรียนได้เปรียบเทียบความแตกต่างและความคล้ายคลึง ของสิ่งต่าง ๆ จัดกลุ่มสิ่งที่เป็นพวกเดียวกัน  หาเหตุหรือกฎเกณฑ์มาเชื่อมโยงในลักษณะ อุปมาอุปไมย    5. วิจารณ์  จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนวิเคราะห์เหตุการณ์  คำกล่าว  แนวคิดหรือการกระทำที่ กำหนด  แล้วให้จำแนกหาข้อดี  ข้อด้อย  ส่วนดี  ส่วนด้อย  ส่วนสำคัญหรือส่วนที่มาสำคัญจากสิ่ง นั้น  ด้วยการยกเหตุผลและหลักฐานประกอบ  เช่น  บอกว่าการกระทำนั้นไม่เหมาะสม  เพราะอะไร  ท าถูกต้องเพราะอะไร    6. สรุป  ให้ผู้เรียนได้พิจารณาการกระทำ หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน แล้วสรุปผลอย่างตรงไปตรงมาตามหลักฐานข้อมูล  เช่น  การกระทำนั้นผู้เรียนเห็นว่าเป็นการ กระทำที่ถูกต้อง  ควรประพฤติปฏิบัติอย่างไร  มีเหตุผลสนับสนุนอย่างไร ข้อความที่กล่าวมานั้น เชื่อถือได้หรือไม่อย่างไร   Dressel and Mayhew (1957 : 179-181)  กล่าวว่ากระบวนการคิดวิจารณญาณ  ประกอบด้วย 5 ขั้น    1. การนิยามปัญหา  เป็นความสามารถในการก กำหนดปัญหา  ข้อโต้แย้ง  วิเคราะห์ ข้อความ  หรือข้อมูลที่คลุมเครือให้ชัดเจน  และเข้าใจความหมายของคำหรือข้อความ  หรือแนวคิด ภายในขอบเขตข้อเท็จจริงที่กำหนดให้  ระบุองค์ประกอบที่สำคัญของปัญหา  จัดองค์ประกอบของ ปัญหาให้เป็นลำดับขั้นตอน    2. การรวบรวมข้อมูลสำหรับการแก้ปัญหา  เป็นความสามารถในการพิจารณาปรากฏ การต่าง ๆ ด้วยความเป็นปรนัย  เลือกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาข้อโต้แย้ง  หรือข้อมูลที่คลุมเครือ  แสวงหาข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจนมากยิ่งขึ้น    3. การจัดระบบข้อมูล  เป็นความสามารถในการแสวงหาแหล่งที่มาของข้อมูล  วินิจฉัย ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล  ระบบ  ข้อตกลงเบื้องต้นของข้อความ  พิจารณาความเพียงพอของ ข้อมูล  จัดระบบโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น  จำแนกความแตกต่างระหว่างข้อมูลที่ชัดเจนกับข้อมูลที่ คลุมเครือ  ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง  กับข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับปัญหา  ข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น  พิจารณาข้อมูลที่แสดงถึงความลำเอียงและการโฆษณาชวนเชื่อ  และตัดสินความขัดแย้งของ ข้อความ  และเสนอข้อมูลได้    4. การเลือกสมมติฐาน เป็นความสามารถในการเลือกสมมติฐาน  ที่สามารถเป็นไปได้ มากที่สุดมาพิจารณาเป็นอันดับแรก  การกำหนดสมมติฐานจากความสัมพันธ์เชิงเหตุผล  ตรวจสอบ ความสอดคล้องระหว่างสมมติฐานกับข้อมูล  พิจารณาทางเลือกหลาย ๆ ทางในการแก้ปัญหา    5. การสรุป  เป็นความสามารถในการคิดพิจารณาข้อความคลุมเครือของข้อมูล  โดย จำแนกข้อมูลที่เหตุผลหนักแน่น  และน่าเชื่อถือว่ามีความเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหา  เพื่อไปสู่การ ตัดสินใจสรุป  ถ้าการสรุปไม่มีเหตุผลเพียงพอต้องมีการหาเหตุผลเพิ่มเติมมาพิจารณาตัดสินการ สรุปใหม่  แล้วจึงนำข้อมูลสรุปและหลักการไปประยุกต์ใช้   Ennis (1985 : 45-48)  ได้อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  ดังนี้    1. นิยาม  ได้แก่  การระบุจุดสำคัญของประเด็นปัญหา  ข้อสรุป  ระบุเหตุผล  การตั้ง ค าถามที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์  การระบุเงื่อนไขข้อตกลงเบื้องต้น    2. การตัดสินข้อมูล  ได้แก่  การตัดสินความนาเชื่อถือของแหล่งข้อมูล  การตัดสิน ความเกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหา    3. การอ้างอิงในการแก้ปัญหาและการสรุปอย่างสมเหตุสมผล  ได้แก่การอ้างอิงและ ตัดสินใจในการสรุปแบบอุปมัยและนิรนัย   ทิศนา  แขมมณี  และคณะ ( 2542 : 60) ได้อธิบายกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณซึ่งมี วิธีคิดดังนี้      
1. ตั้งเป้าหมายในการคิด       
2. ระบุประเด็นในการคิด      
3. ประมวนข้อมูลทั้งทางด้านข้อเท็จจริงและความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่คิด ทางกว้าง  ลึก  และไกล      
4. วิเคราะห์  จำแนกแยกแยะจัดหมวดหมู่ของข้อมูลและเลือกข้อมูลที่จะนำมาใช้       
5. ประเมินข้อมูลที่จะใช้ในแง่ความถูกต้อง  ความเพียงพอ  และความน่าเชื่อถือ       
6. ใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาข้อมูล เพื่อแสวงหาทางเลือกหรือคำตอบที่ สมเหตุสมผลตามข้อที่มี       
7. เลือกทางเลือกที่เหมาะสมโดยพิจารณาถึงผลที่จะตามมาและคุณค่าหรือ ความหมายที่แท้จริงของสิ่งนั้น       
8. ชั่งน้ำหนักผลได้ผลเสีย  คุณโทษในระยะสั้นและระยะยาว 
9. ไตร่ตรอง  ทบทวนกลับกลับไปกลับมาให้รอบคอบ       10. ประเมินทางเลือกและลงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่คิด   
สรุปได้ว่า  กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณนั้น  ขั้นตอนการฝึกการคิดหลายรูปแบบ  ตามหลักการและแนวคิดของนักการศึกษาต่าง ๆ ที่ได้ผ่านการทดลองมาแล้ว  ดังนั้นครูผู้สอน สามารถเลือกกระบวนการการคิดที่มีขั้นตอนต่าง ๆ ตามที่เหมาะสมกับเรื่องที่จะสอนหรือให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมการจัดการเรียนรู้  ซึ่งขั้นตอนส่วนใหญ่จะมีหัวข้อที่สามารถสรุปได้ว่ามีความ คล้ายคลึงกันในเรื่องต่อไปนี้  คือ 1) การทำความเข้าใจกับปัญหา / ประเด็นสำคัญ / สถานการณ์ที่ พบ  2) การรวบรวมข้อมูล  ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำมาเป็นแนวทางการแก้ปัญหา และ  3) การวิเคราะห์ข้อมูล  พิจารณาข้อมูลเพื่อหาทางเลือกหรือคำตอบที่ถูกต้อง  อย่าง รอบคอบ  ประเมินทางเลือกหลาย ๆ ทาง 
 แนวทางการพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ   สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ (2552 : 80-81)  สรุปแนวทางในการพัฒนาความสามารถใน การคิดอย่างมีวิจารณญาณให้แก่นักเรียน ว่าครูผู้สอนมีส่วนสำคัญในการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ ต่าง ๆ เช่น  1. ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกระบวนการสอน  โดยมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้น กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณอย่างเป็นระบบ  ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เปิดโอกาส ให้นักเรียนรู้จักคิดในสิ่งที่เรียน  รู้จักคิดในแง่ของการตีความหมายในรายละเอียด  รู้จักขยายผลของ สิ่งที่คิดและปรับสิ่งที่ได้จากการคิดดังกล่าวไปใช้ในสถานการณ์อื่น ๆ ฝึกให้นักเรียนได้รู้ปัญหา วิธีแก้ไขปัญหา  บนพื้นฐานของข้อมูลต่าง ๆ โดยนำมาวิเคราะห์  พิจารณาความน่าเชื่อถือก่อนการ ตัดสินใจ ประเด็นสำคัญคือการสร้างให้นักเรียนรู้จักคิดก่อนท า  และสามารถอธิบายการกระทำของตนว่ามีเหตุผลอย่างไร  การฝึกให้นักเรียนมีเหตุผลจะใช้คำถามว่า  ทำไม”  ให้นักเรียนตอบ  โดยมีพื้นฐานรองรับอยู่เสมอ    2. ส่งเสริมให้นักเรียนตัดสินใจด้วยตนเอง  เปิดโอกาสให้นักเรียนตัดสินใจด้วยตนเอง  เป็นการพัฒนาทักษะกระบวนการคิด  มีความเชื่อมั่นในตนเองและมีความรู้สึกที่เป็นอิสระ  ซึ่ง ผู้สอนอาจจัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ทั้งในและนอกโรงเรียน  และให้นักเรียนได้มีโอกาสตัดสินใจ ในการท ากิจกรรมต่าง ๆ เป็นการฝึกฝนและพัฒนาความคิดอย่างมีวิจารณญาณ  อันเป็นพื้นฐาน สำคัญที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะในการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง 
   3. จัดสื่อการเรียนรู้แบบต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการฝึกทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณซึ่ง สื่อมีหลายรูปแบบ  สื่อสิ่งพิมพ์  เช่น  หนังสือ  บทความประเภทต่าง ๆ หนังสือพิมพ์  นิทาน ฯลฯ  เมื่อนักเรียนอ่านแล้วครูอาจใช้คำถามฝึกการคิด  เช่น  เรื่องนี้คล้ายคลึงหรือแตกต่างกันอย่างไร  ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลในการอ่านจะช่วยพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้วิธีหนึ่ง ครูอาจ จัดทำแบบฝึกหัดทักษะการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน  ซึ่งอาจมีรูปแบบหลากหลาย  เช่น  สถานการณ์ จำลอง  และครูใช้คำถามเพื่อฝึกการคิดหลังจากนักเรียนอ่านสถานการณ์แล้ว  หรือฝึกการคิดจาก ภาพ  เป็นต้น    4. ฝึกให้นักเรียนมีการอภิปรายร่วมกันตามหัวข้อต่าง ๆ ที่น่าสนใจ  หรือเป็นเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน  จากข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ จากความคิดเห็นของบุคคลต่าง ๆ ในข่าวประจำวัน จากการ์ตูนล้อการเมือง  จะทำให้นักเรียนมีทักษะในการอภิปรายเชิงวิเคราะห์  วิจารณ์  ฝึกให้ นักเรียนมีทักษะในการลงข้อสรุปและรู้จักประเมินความคิดเห็นของผู้อื่น  ทำให้นักเรียนรู้จักการ อ้างเหตุผล  และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยใจเป็นกลาง    5. ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักวางแผนการท างานหรือกิจกรรมต่าง ๆ โดยแนะนำให้ นักเรียนวางเป้าหมาย  ตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินงานว่าเป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่  โดยมี ข้อมูลหลักฐานในการตรวจสอบและใช้เหตุผลในการพิจารณาตัดสินใจรับปรุง  หรือดำเนินงาน ตามแผน  และรู้จักวิธีการในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม  รอบคอบ  และควบคุมตนเองให้ ดำเนินงานตามแผน  การท างานหรือกิจกรรมใด ๆ ก็ตามที่ครูฝึกให้นักเรียนรู้จักวางแผนการย่อม เป็นการดำเนินงานและมีการตรวจสอบ  ตลอดจนเมื่อมีการด าเนินงานตามแผนแล้วมรการ ประเมินผลการดำเนินงานนั้นจัดได้ว่าเป็นแนวทางหนึ่งที่จะส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้การคิดอย่างมี วิจารณญาณ 
 การจัดการเรียนรู้สู่การคิดอย่างมีวิจารณญาณ    นักศึกษาหลายท่านต่างก็มีแนวคิด  ทฤษฎี  หลักการเกี่ยวกับกระบวนการคิดอย่างมี วิจารณญาณว่ามีขั้นตอนการดำเนินการฝึกคิดที่หลากหลาย  แตกตางกัน  แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมี ขั้นตอนใหญ่ ๆ ที่คล้ายคลึงกัน  คือ  เริ่มจากการทำความเข้าใจกับปัญหา / ประเด็นสำคัญ / สถานการณ์ที่พบ  ต่อจากนั้นก็จะมีการรวบรวมข้อมูล  ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำมาเป็น แนวทางแก้ปัญหา  โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูล  พิจารณาข้อมูล  เพื่อหาทางเลือก  คือ  ค าตอบที่ ถูกต้องอย่างรอบคอบ  และมีการประเมินทางเลือกหลาย ๆ ทางว่าทางเลือกใดเหมาะสมที่สุดต่อจากนั้นก็สามารถสรุปและตัดสินใจได้  ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ นักการศึกษาบางท่าน  คือ
  การจัดการเรียนรู้ตามขั้นตอนของ Bloom (1961) and Gagne (1985) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้    1. สังเกตให้นักเรียนอ่านข้อความจากหนังสือพิมพ์ที่มีชายคนหนึ่งแจ้งข่าวต่อผู้สื่อข่าว ว่าเขากินชาเขียวยี่ห้อหนึ่งแล้วเขาปวดท้องอย่างรุนแรง  ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล    2. อธิบาย  ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นว่า  เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยโดยอธิบาย เหตุผลประกอบตามหลักการหรือความรู้ที่ตนมี  โดยอ้างหลักฐานข้อมูลประกอบให้น่าเชื่อถือ    3. รับฟัง  ให้นักเรียนรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน ๆ ที่มีความคิดเห็นแตกต่างจาก ความคิดเห็นของตน  มีการปรับเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล  ไม่ใช้อารมณ์หรือความคิดเห็น หรือความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่    4. เชื่อมโยงความสัมพันธ์  ให้นักเรียนเปรียบเทียบ  เชื่อมโยงความสัมพันธ์  เช่น  ลอง พิจารณาว่า  นอกจากชายคนที่มาแจ้งข่าวแล้วยังมีบุคคลอื่น ๆ แจ้งข่าวทำนองนี้อีกหรือไม่  หรือลอง ไปสัมภาษณ์คนที่กินชาเขียวยี่ห้อนั้นว่ากินชาเขียวแล้วมีใครปวดท้องบ้าง    5. วิจารณ์  นักเรียนวิเคราะห์เหตุการณ์หรือข้อความที่เป็นข่าวว่ามีหลักฐานใด สนับสนุนควรเชื่อเพียงใด    6. สรุป  นักเรียนสรุปผลอย่างตรงไปตรงมาตามหลักฐาน  ข้อมูล  คือ  สมควรจะเชื่อ ข่าวกินชาเขียวแล้วปวดท้องหรือไม่  มีเหตุผลสนับสนุนอย่างไร  การจัดการเรียนรู้ตามขั้นตอน  แนวคิดของ Dressel and Mayhew (1957 : 179-181) กระบวนการคิดวิจารณญาณ มี 5 ขั้นตอน  ดังนี้    1. ความสามารถในการนิยามปัญหา เป็นความสามารถในการตระหนักถึงสิ่งที่เป็น ปัญหา รับรู้ถึงสภาพที่กำลังเป็นปัญหา มีสิ่งใดที่ไม่สมบูรณ์ มีสิ่งใดไม่ถูกต้องหรือขาดหายไป สามารถวิเคราะห์ข้อความหรือสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นปัญหาแล้วสามารถบอกลักษณะของปัญหา และระบุประเด็นสำคัญ ระบุองค์ประกอบของปัญหา ของเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้ การ นิยามปัญหานั้นมีความสำคัญมากสำหรับการอ่านและการฟังเรื่องราวต่างๆ  ตัวอย่างเช่น  สถานการณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนดอนหวาย  เมื่อผลิตออกมาขายไม่ได้ ต้องลดราคาสินค้าขายในราคา ถูก จึงจะมีคนซื้อ นักเรียนจะต้องมาวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญของปัญหา คือ ผลิตภัณฑ์ของ ชุมชนขายไม่ได้  และเมื่อต้องการให้หมดก็ต้องขายลดราคา     2. ความสามารถในการเลือกข้อมูล หรือรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เป็นความสามารถ ในการพิจารณาและเลือกข้อมูลเพื่อนนำมาแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง การพิจารณาความพอเพียงทั้ง ปริมาณและคุณภาพของข้อมูล พิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล ความสามารถนี้เป็น สิ่งจำเป็นสำหรับความคิดที่จะใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ จะทำให้ความสามารถในการมองเห็นว่าอะไรคือปัญหาที่แท้จริง อะไรคือข้อเท็จจริง ตัวอย่างเช่น แก้ปัญหาโดยฝึกให้นักเรียนหาข้อมูล เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของชุมชนมาพิจารณา     3. ความสามารถในการระบุข้อตกลงเบื้องต้น หรือจัดระบบข้อมูล เป็นความสามารถ ในการพิจารณาแยกแยะว่าข้อความใดเป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น และข้อความใดไม่เป็นไปตาม ข้อตกลงเบื้องต้น ตามข้อความหรือสถานการณ์ที่กำหนดให้ ข้อมูลใดเป็นข้อเท็จจริง ข้อมูลใดเป็น ความคิดเห็น ข้อมูลใดไม่น่าเชื่อถือ ความสามารถนี้มีความสำคัญ เพราะว่า ทำให้เห็นความแตกต่าง ของข้อมูลเพื่อลงความเห็นว่า ควรจะยอมรับข้อมูลที่ได้มาหรือไม่ ตัวอย่างเช่น การฝึกให้นักเรียน น าข้อมูลมาจัดระบบโดยวิธีการต่างๆ โดยข้อมูลใดเกี่ยวข้องกับปัญหาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ไม่เป็นที่ ต้องการของตลาด ข้อมูลใดไม่เกี่ยวข้อง ข้อมูลใดเป็นความคิดเห็น แล้วคัดสรรข้อมูลที่เป็นจริงมา รวมกันอย่างเป็นระบบ  4. ความสามารถในการกำหนดและตั้งสมมติฐาน เป็นความสามารถในการกำหนด หรือเลือกสมมติฐานจากข้อความหรือสถานการณ์ให้ตรงกับปัญหาในข้อความหรือสถานการณ์นั้น ประกอบด้วยการชี้แนะคำตอบของปัญหา การกำหนดสมมติฐานต่างๆ การเลือกสมมติฐานที่ เป็นไปได้มากที่สุด การตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างสมมติฐานกับข้อมูลและข้อตกลง เบื้องต้น ความสามารถนี้มีความสำคัญ เพราะทำให้มีความรอบคอบ และมีความพยายามในการ คิดถึงความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาหรือความเป็นไปได้ของสมมติฐาน ตัวอย่างเช่น นักเรียน เลือกสมมติฐานที่สามารถแก้ปัญหาได้อันดับแรกมาพิจารณา โดยตั้งสมมติฐานว่าสินค้าผลิตภัณฑ์ ชุมชนขาดการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ส่งผลให้ไม่มีคนรู้จัก เมื่อนักเรียนตรวจสอบความสอดคล้อง ที่เป็นไปได้ของข้อมูล แล้วมาพิจารณาทางเลือกหลายๆ ทางในการแก้ปัญหา เช่น ลงข่าว หนังสือพิมพ์ โฆษณาทางวิทยุ เขียนแผ่นป้ายโฆษณาตรงหน้าหมู่บ้านและในเขตชุมชนของจังหวัด     5. ความสามารถในการลงสรุปอย่างสมเหตุสมผล เป็นความสามารถในการคิด พิจารณาข้อความเกี่ยวกับเหตุผล โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่เป็นสาเหตุ สามารถลงสรุปอย่างมีเหตุผล จากข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การระบุเงื่อนไขที่จำเป็นได้ การระบุความเป็นเหตุเป็นผลได้ และ สามารถตัดสินสิ่งต่างๆ อย่างสมเหตุสมผล เพื่อน าไปสู่ข้อสรุป และสามารถประเมินข้อสรุปได้ว่า เพียงพอ และมีคุณค่า มีประโยชน์ต่อการนำไปปฏิบัติได้จริงมากน้อยเพียงใด ความสามารถในการ ลงสรุปนี้มีความสำคัญ เพราะทำให้สามารถลงความเห็นตามความจริงจากหลักฐานหรือข้อมูลที่มีอยู่จากการพิจารณาแนวคิดและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สรุปได้ว่า การคิดอย่างมี วิจารณญาณ ประกอบด้วย กระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการคิด เริ่มจากปัญหา แล้วมีการศึกษา ปัญหานั้นให้ชัดเจน การรวบรวมข้อมูล การจัดระบบข้อมูล การตั้งสมมติฐาน และการลงสรุปอย่างสมเหตุสมผล จึงนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้อง กระบวนการที่กล่าวมานี้ นับว่ามีความจำเป็น กับ สังคมไทยในยุคโลกาภิวัฒน์ ในเรื่องการเชื่อสิ่งใดนั้น จะต้องมีการคิดและตัดสินใจด้วยข้อมูลและ หลักการแห่งเหตุผล เนื่องจากเกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นในสังคม ความเชื่อและการกระทำที่ไร้ เหตุผลและความไม่รู้เท่าทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การรู้จักแสวงหาข้อมูลข่าวสาร และความรู้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นพื้นฐานสำคัญของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งข้อมูลที่ดี จะต้อง 1) เป็นข้อมูลที่มีความชัดเจน มีสาระความรู้ที่ถูกต้อง 2) ข้อมูลเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง สมเหตุสมผล และเชื่อถือได้ 3) มีกระบวนการสรุปทั้งเชิงนิรนัยและอุปนัย และคำนึงถึงการตัดสิน คุณค่าที่แท้จริง และ 4) การได้มาซึ่งข้อมูลเป็นไปอย่างหลากหลายวิธี และหลายแหล่ง มีการ ปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เพื่อได้ข้อมูลที่หลากหลายและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น   การประยุกต์ใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณกับวิธีการสอนและเทคนิคการสอน    การจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ฝึกการคิดอย่างมีวิจารณญาณนั้น สามารถนำไปใช้กับ วิธีการสอนและเทคนิคการสอนต่างๆ ดังนี้    ก. วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ มีขั้นตอนการสอน คือ     1. กำหนดปัญหาและทำความเข้าใจปัญหา      2. ตั้งสมมติฐาน      3. ท าการทดลอง และเก็บรวบรวมข้อมูล      4. วิเคราะห์ข้อมูล      5. สรุปผล    การใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถ นำไปใช้ได้ทุกขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ แบบวิทยาศาสตร์ คือ ฝึกให้นักเรียนคิดบนพื้นฐานข้อมูลที่มีเหตุผลว่าเป็นจริง แล้วจึงตัดสินใจ ซึ่ง เป็นไปตามการจัดการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ เช่น น สถานการณ์ นักเรียนชายชอบทะเลาะวิวาท กันมาให้นักเรียนคิดถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ให้นักเรียนช่วยกันตั้งสมมติฐาน เช่น ตั้งสมมติฐานที่เลือก มาแล้วว่า นักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชอบทะเลาะวิวาทกันมากกว่าชั้นอื่นจริง นักเรียนก็ จะต้องเก็บรวมรวมข้อมูลจากฝ่ายปกครอง หรือจากการสัมภาษณ์บุคคลหรืออาจารย์ที่ปรึกษา นำมา วิเคราะห์ข้อมูลก่อนสรุปผล ซึ่งการจัดการเรียนรู้ด้วยการคิดอย่างมีวิจารณญาณนี้ก็มีกระบวนการ เช่นเดียวกันกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์   
   ข. วิธีสอนแบบแก้ปัญหา     การฝึกคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถนำไปใช้ในขั้นตอนต่างๆ ของวิธีสอนแล ะ แก้ปัญหาได้อย่างสอดคล้องกัน ดังนี้     1. ตั้งปัญหา      2. ตั้งสมมติฐาน     3. วางแผนแก้ปัญหา     4. เก็บรวบรวมข้อมูล      5. สรุปผล      6. การตรวจสอบและการประเมินผล     ตัวอย่างในการตั้งปัญหานั้น ครูอาจใช้คำถามให้นักเรียนเกิดปัญหาหรือข้อสงสัย เช่น ปัญหาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนในขณะนี้มีอะไรบ้าง ซึ่งเมื่อนักเรียนสามารถกำหนดปัญหาได้ว่า คือ ปัญหาในคลองหลังโรงเรียนเน่าเหม็น ก็สามารถตั้งสมมติฐานได้ว่านำเน่าเสียเกิดจากน้ำใน ท่อระบายน้ำในโรงอาหารลงไปในคลองแล้วนักเรียนก็ช่วยกันวางแผนแก้ปัญหา โดยวิธีการที่มี เหตุผลเหมาะสม ต่อจากนั้นก็ปฏิบัติตามแผน มีการตรวจสอบและสรุปผล กล่าวได้ว่าการดำเนิน กิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนนั้นได้นำกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณไปใช้ในทุกขั้นตอน ของวิธีสอนแบบแก้ปัญหา 
   ค. วิธีสอนตามแนววัฏจักรการเรียนรู้     การฝึกคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถนำไปใช้ในขั้นตอนของการสอนตามแนว              วัฏจักรการเรียนรู้ ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้      1. สร้างคุณค่าและประสบการณ์ของสิ่งที่เรียน      2. วิเคราะห์ประสบการณ์     3. ปรับประสบการณ์เดิมเข้าสู่ความคิดรวบยอด      4. พัฒนาความคิดรวบยอดด้วยข้อมูล      5. ฝึกปฏิบัติ     6. วางแผนและสร้างผลงาน     7. วิเคราะห์ชิ้นงาน      8. น าเสนอและแลกเปลี่ยน     ตัวอย่าง เช่นการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งครูผู้สอนได้จัดการ เรียนรู้ตามแนววัฏจักรการเรียนรู้ ดำเนินไปถึงขั้นที่ 4 เมื่อครูผู้สอนให้ข้อมูลความรู้แก่นักเรียน              
จนนักเรียนเข้าใจดีแล้ว ในขั้นที่ 5 ครูควรฝึกทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เกี่ยวกับแนวทางการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยอาจจะใช้แบบสร้างสถานการณ์มาให้นักเรียนคิด ต่อจากนั้น ในขั้นที่ 6-7-8 เป็นขั้นที่นักเรียนสามารถใช้การคิดแบบวิจารณญาณในการสร้างสรรค์ผลงานด้วยความภาคภูมิใจ และมีความสุขจนกระทั่งเมื่องานสำเร็จนำ าเสนอแลกเปลี่ยนกัน หรือจัดนิทรรศการผลงานในขั้นที่ 8  
   ง. วิธีสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ     การน ากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบฝึกทักษะการคิดไปใช้ในเทคนิค การเรียนรู้แบบร่วมมือนั้น สามารถนำไปใช้ในขั้นตอนต่างๆ ของการเรียนรู้ในแต่ละเทคนิค ดังนี้ เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) ซึ่งมีขั้นตอนการจัดกิจกรรม ดังนี้   1. ครูกำหนดหัวข้อเรื่องที่ศึกษา 2. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน ตามจำนวนหัวข้อที่ศึกษา เรียกว่า กลุ่ม บ้าน (Home Groups) โดยสมาชิกแต่ละคนมีหลายเลขประจำตัว 1-2-3-4 ฯลฯ  3. นักเรียนมีหมายเลขเดียวกันจากกลุ่มบ้านมานั่งรวมกัน เพื่อศึกษาความรู้ และทำ ใบงาน เรียกสมาชิกกลุ่มนี้ว่า ผู้เชี่ยวชาญ (Expert Groups) ในขั้นนี้ครูควรสามารถนำแบบฝึกการคิด อย่างมีวิจารณญาณมาให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งอาจจะมีแบบฝึกจำนวน 4 แบบฝึก ตาม หัวข้อที่ครูกำหนด นักเรียนในกลุ่มนี้จะร่วมกันระดมสมองคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตามประเด็น หัวข้อที่กำหนด เช่น หมายเลข 1 เป็นสถานการณ์เกี่ยวกับการใช้สิทธิ์หมายเลข 2 เป็นสถานการณ์เกี่ยวกับการใช้เสรีภาพหมายเลข 3 เป็นสถานการณ์เกี่ยวกับการใช้หน้าที่หมายเลข 4 เป็นสถานการณ์เกี่ยวกับการเป็นคนดีในวิถีประชาธิปไตยเมื่อสมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ( Expert-Groups) ได้สรุปผลการตัดสินใจด้วยการคิดอย่างมีวิจารณญาณแล้วก็จะกลับไปกลุ่มเดิมคือกลุ่มบ้าน ( Home Groups) ไปผลัดกันเล่า ประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการคิดอย่างมีวิจารณญาณในหัวข้อที่ตนได้รับนับได้ว่าเป็นการฝึกให้ นักเรียนได้เรียนรู้โดยใช้ความรู้จากบทเรียนเป็นพื้นฐานในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเทคนิคกลุ่มสืบค้น (GI : Group Investigation)  เทคนิคกลุ่มสืบค้นมีขั้นตอนกิจกรรม คือ1. ครูและนักเรียนอภิปรายบทเรียนตามประเด็นที่กำหนด2. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มคละตามความสามารถ 
     3. ครูแบ่งหัวข้อเรื่องย่อยๆ เป็นใบความรู้และแบบฝึกทักษะการคิด ให้นักเรียนตาม จำนวนสมาชิกในกลุ่ม      4. นักเรียนแต่ละกลุ่มแบ่งงานให้สมาชิกรับผิดชอบ ท าแบบฝึกทักษะการคิดตาม หัวข้อที่กำหนดคนละ 1 หัวข้อ ซึ่งในขั้นตอนนี้ เป็นขั้นฝึกให้นักเรียนได้คิดอย่างมีวิจารณญาณตาม แบบฝึกทักษะที่ตนรับผิดชอบ แต่ละคนจะสืบค้นข้อมูลความรู้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการฝึกทักษะการ คิด จนสามารถตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลถูกต้อง       5. สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะผลัดกันเล่าผลจากการคิดและตัดสินใจให้สมาชิกใน กลุ่มฟัง       6. สมาชิกรวบรวมผลงานเป็นของกลุ่ม แล้วน าเสนอผลต่อชั้นเรียน      กล่าวได้ว่า การฝึกให้นักเรียนได้ใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณในเทคนิคกลุ่มสืบค้น (GI : Group Investigation) นั้น ครูจะมีบทบาทสำคัญในการจัดทำแบบฝึกทักษะการคิดให้นักเรียน ได้เรียนรู้     เทคนิคคู่คิด ( Think-Pair-Share)     เทคนิคคู่คิด ( Think-Pair-Share) เป็นเทคนิคที่ครูให้นักเรียนจับคู่กันทำแบบฝึกทักษะ โดยมีขั้นตอน ดังนี้      1. ครูตั้งคำถามหรือกำหนดปัญหาให้นักเรียน ซึ่งอาจะเป็นแบบฝึกทักษะการคิด อย่างมีวิจารณญาณ ดังนั้นบทบาทสำคัญของครู อยู่ในขั้นที่ 1 ที่จัดทำแบบฝึกทักษะให้นักเรียนคิด ซึ่งอาจะเป็นสถานการณ์หรือข่าว หรือบทความต่างๆ ที่สอดคล้องกับบทเรียน       2. นักเรียนคิดหาคำตอบตามกำหนดเวลาที่กำหนด3. เมื่อนักเรียนคิดคำตอบได้แล้ว ให้จับคู่กับเพื่อนอภิปรายคำตอบ       4. นักเรียนออกไปอธิบายคำตอบให้เพื่อนฟัง     ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกการคิดอย่างมีวิจารณญาณตามที่เสนอแนะไปใน ตอนต้นนั้น เป็นเพียงแนวทางให้ครูผู้สอนได้นำวิธีการไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ นักเรียนได้ตามความเหมาะสม ซึ่งยังมีวิธีสอนและทฤษฎีการเรียนรู้อีกมากมายที่ครูจะต้องศึกษา และได้นำกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณไปแทรกในวิธีการจัดการเรียนรู้เหล่านั้น หรืออาจจะไปจัดการเรียนรู้ตามขั้นตอนของกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตามแนวคิดของนักการศึกษาต่างๆ โดยตรงหรือประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับปัจจัยและสภาพแวดล้อมของการ จัดการเรียนรู้ในแต่ละแห่ง แต่อย่างไรก็ตามนับได้ว่าครูผู้สอนจะมีบทบาสำคัญที่เอื้อต่อการให้ นักเรียนได้รู้จักคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา ประการหนึ่ง
     สรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ฝึกการคิดอย่างมีวิจารณญาณนั้น สามารถนำ ประยุกต์ใช้การคิดอย่างมีวิจารณญาณกับวิธีการสอนและเทคนิคการสอนต่างๆได้หลายหลายขึ้นอยู่ กับครูผู้สอนจะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ
แหล่งอ้างอิงข้อมูล  รายงานการวิจัยและพัฒนา  การส่งเสริมนวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและ บุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านทักษะการคิด ในจังหวัดอุบลราชธานี  ระยะที่ 2
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้รับทุนสนับสนุนจาก ส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2553

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

ADDIE

ADDIE
(Analysis > Design > Development > Implementation > Evaluation)
1.      กำเนิด ADDIE

ADDIE ปรากฏตัวครั้งแรกในปี 1975 มันถูกสร้างขึ้นโดยศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐฟลอริดาสำหรับกองทัพสหรัฐและจากนั้นปรับตัวได้อย่างรวดเร็วโดยทุกกองกำลังสหรัฐ (แบรนสัน, เรย์เนอร์ คอคส์, เฟอร์แมนคิง Hannum 1975; วัตสัน, 1981) ห้าขั้นตอนขึ้นอยู่บ้างในรูปแบบ ISD ก่อนหน้านี้ได้รับการพัฒนาโดยกองทัพอากาศสหรัฐ (1970) เรียกว่าวิธีการห้าขั้นตอน ADDIE หรือรุ่น ISD ประกอบด้วย 19 ขั้นตอนที่ได้รับการพิจารณาที่สำคัญในการพัฒนาด้านการศึกษาและการฝึกอบรม (Hannum, 2005) ขั้นตอนที่ถูกแบ่งออกเป็นห้าขั้นตอน (การวิเคราะห์การออกแบบการพัฒนานำไปใช้ประเมิน) เพื่ออำนวยความสะดวกการสื่อสารของรูปแบบ ISD ให้กับผู้อื่นขั้นตอนอยู่ภายใต้ขั้นตอนของตนดังต่อไปนี้:

หกปีต่อมาดร. รัสเซลวัตสัน (1981) หัวหน้าเจ้าหน้าที่และคณาจารย์กองฝึกอบรมของ Fort Huachuca แอริโซนานำเสนอกระดาษที่ประชุมนานาชาติเพื่อการเรียนการสอนเป็นรายบุคคล ในนั้นเขากล่าวถึงรูปแบบ ADDIE เป็นที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยแห่งรัฐฟลอริดา การนำเสนอของเขาที่มีรูปแบบการปรับปรุงเล็กน้อย

รูปแบบของวัตสันก็ขึ้นอยู่กับหนึ่งในการพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยแห่งรัฐฟลอริดาในที่ห้าขั้นตอนเหมือนกัน แต่ขั้นตอนในแต่ละขั้นตอนได้รับการแก้ไขเล็กน้อย (แบรนสัน, เรย์เนอร์ค็อกซ์เฟอร์แมนคิง Hannum, 1975)
รูปแบบที่เป็นมุมมองที่เป็นนามธรรมที่เรียบง่ายของความเป็นจริงที่ซับซ้อนหรือแนวคิด Silvern กำหนดรูปแบบเป็น "อะนาล็อกกราฟิกที่เป็นตัวแทนของสถานการณ์ในชีวิตจริงทั้งที่มันเป็นหรือเป็นมันควรจะเป็น" (AECT, 1977) นี้จะทำให้รูปแบบ ADDIE ในขณะที่มันได้รับภาพในหลายวิธีรูปแบบต่อไปนี้แสดงวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยม (กองทัพสหรัฐ, 2011, หน้า 62)

1.  เนื้อหาสาระรายละเอียดสำคัญของ ADDIE
ADDIE คือ กระบวนการออกแบบระบบการเรียนการสอน โดยมีขั้นตอนการออกแบบตามรูปแบบ ADDIE (ADDIE Model) โดยอาศัยหลักของวิธีการระบบ (System Approach) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าสามารถนำไปใช้ออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น CAI/CBT, WBI/WBT หรือ e-Learning เป็นกระบวนการพัฒนารูปแบบการสอนที่นักออกแบบการเรียนการสอนและนักพัฒนาการฝึกอบรมนิยมใช้กันเพื่อการวิเคราะห์, การออกแบบ, การพัฒนา, การดำเนินการให้เป็นผล และการประเมินผลของสารปัจจัย และกิจกรรมการเรียน
การออกแบบการสอนมุ่งหมายเพื่อวิธีการสอนที่ยึดถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมากกว่าวิธีการที่ยึดถือผู้สอนเป็นศูนย์กลาง  จนกระทั่งการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิผลเกิดขึ้นเป็นกระบวนการออกแบบการสอนที่กระทำวนซ้ำใหม่ในที่ผลของการประเมินผลเพื่อพัฒนาของแต่ละขั้นตอนที่ชี้แนะให้นักออกแบบการสอนพิจารณากลับไปที่ขั้นตอนก่อนหน้าผลิตผลขั้นสุดท้ายของขั้นตอนหนึ่งๆเป็นผลิตผลเริ่มต้นของขั้นตอนต่อไปซึ่ง ADDIE Model
Richey,1986: 96 และ Seels and Glasgow, 1997: 9 ได้มีลำดับการพัฒนาเป็น 5 ขั้น ซึ่งประกอบด้วย
1. การวิเคราะห์ (A : Analysis) dynamic, flexible guideline for building
2. การออกแบบ (D : Design) effective training and performance support
3. การพัฒนา  (D : Development) tools.
4. การทดลองใช้ (I : Implementation)
5. การประเมินผล (E : Evaluation)
ซึ่งแต่ละขั้นตอนเป็นแนวทางที่มีลักษณะที่ยืดหยุ่นเพื่อให้สามารถนำไปสร้างเป็นเครื่องมือได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยรอดเดอริค  ซิมส์  (Roderic  Sims)  แห่งมหาวิทยาลัยซิดนีย์  (University  of  Technology Sydney)  ได้นำรูปแบบ  ADDIE  มาปรับปรุงขั้นตอนให้เป็นขั้นตอนการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ โดยครอบคลุมสาระสำคัญในการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
ขั้นที่ 1 ขั้นวิเคราะห์ (Analysis)
 ในขั้นนี้เป็นการทำความเข้าใจปัญหาการเรียนการสอนเป้าหมายของรูปแบบการสอนและวัตถุประสงค์ที่จะสร้างขึ้นตลอดจนสภาพแวดล้อมการเรียนรู้และความรู้พื้นฐานและทักษะของผู้เรียนที่จำเป็นต้องมีโดยพิจารณาจากคำถามเพื่อการวิเคราะห์ดังนี้
- ใครคือกลุ่มเป้าหมายและเขาต้องมีคุณลักษณะอย่างไร
- ระบุพฤติกรรมใหม่ที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
- มีข้อจำกัดในการเรียนรู้ที่มีอยู่อะไรบ้าง
- อะไรที่เป็นทางเลือกสำหรับการเรียนรู้ที่มีอยู่บ้าง
- หลักการสอนที่พิจารณาเป็นแบบไหน อย่างไร
- มีช่วงเวลาการพัฒนาเป็นอย่างไร
ขั้นที่ 2 การออกแบบ (Design)
ขั้นตอนการออกแบบประกอบด้วย การสร้างจุดประสงค์การเรียนรู้กำหนดเครื่องมือวัดประเมินผล แบบฝึกหัด เนื้อหา วางแผนการสอนและเลือกสื่อการสอนขั้นตอนการออกแบบควรจะทำอย่างเป็นระบบและมีเฉพาะเจาะจง โดยความเป็นระบบนี้หมายถึงตรรกะมีระเบียบแบบแผนของการจำแนก การพัฒนา และการประเมินแผนยุทธวิธีที่วางไว้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำหรับความเฉพาะเจาะจงหมายถึงแต่ละองค์ประกอบของการออกแบบรูปแบบการสอนจะต้องเอาใจใส่ทุกรายละเอียด ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. การออกแบบ Courseware (การออกแบบบทเรียน) ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหา แบบทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test) สื่อ กิจกรรม วิธีการนำเสนอ และแบบทดสอบหลังบทเรียน (Post-test)
2. การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)
3. การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design) การออกแบบหน้าจอภาพ หมายถึง การจัดพื้นที่ของจอภาพเพื่อใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ภาพ และส่วนประกอบอื่นๆ สิ่งที่ต้องพิจารณา มีดังนี้
Ø การกำหนดความละเอียดภาพ (Resolution)
Ø การจัดพื้นที่แต่ละหน้าจอภาพในการนำเสนอ
Ø การเลือกรูปแบบและขนาดของตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
Ø การกำหนดสี ได้แก่ สีของตัวอักษร (Font Color) ,สีของฉากหลัง (Background),สีของส่วนอื่นๆ
Ø การกำหนดส่วนอื่นๆ ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บทเรียน
v บุคลากรที่เกี่ยวของในขั้นตอนนี้ได้แก่ ผู้จัดการโครงการผู้ออกแบบระบบการสอน
ผู้ประเมินโครงการ โปรแกรมเมอร์ ผู้ออกแบบกราฟิก และผู้ผลิตบทเรียน
ขั้นที่ 3 ขั้นการพัฒนา (Development)
ขั้นตอนการพัฒนาคือขั้นที่ผู้ออกแบบสร้างส่วนต่างๆ ที่ได้ออกแบบไว้ในขั้นของการออกแบบซึ่งครอบคลุมการ สร้างเครื่องมือวัดประเมินผล สร้างแบบฝึกหัด สร้างเนื้อหา และการพัฒนาโปรแกรมสำหรับสื่อการสอน เมื่อเรียบร้อยทำการทดสอบเพื่อหาข้อผิดพลาดเพื่อนำผลไปปรับปรุงแก้ไข
จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือ สร้างแผนการสอนและสื่อของบทเรียนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องพัฒนาการสอน และสื่อทั้งหมดที่ใช้ในการสอน และเอกสารสนับสนุนต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ (เช่น เครื่องมือสถานการณ์จำลอง) และซอฟต์แวร์ (เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน) ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้
1. การเตรียมการ เกี่ยวกับองค์ประกอบดังนี้
1.1 การเตรียมข้อความ
1.2 การเตรียมภาพ
1.3 การเตรียมเสียง
1.4 การเตรียมโปรแกรมจัดการบทเรียน
2. การสร้างบทเรียน หลังจากได้เตรียมข้อความภาพ เสียง และส่วนอื่น เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปเป็นการสร้างบทเรียน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการเพื่อเปลี่ยน story board ให้กลายเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3. การสร้างเอกสารประกอบการเรียนหลังจากสร้างบทเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้วในขั้นต่อไปจะเป็นการตรวจสอบและทดสอบความสมบูรณ์ขั้นต้นของบทเรียน
ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนการพัฒนา มีดังนี้
   1) วัสดุประกอบการเรียน (Adjunct Materials)
  2) ตัวบทเรียน  ประกอบด้วยขอความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ และการปฏิสัมพันธ์ รวมทั้งเอกสารประกอบบทเรียน
  3) โปรแกรมการจัดการบทเรียน
ขั้นที่ 4 ขั้นการนำดำเนินการ (Implementation)
ในขั้นตอนการดำเนินการนี้ หมายถึงขั้นของการสอนโดยอาจจะเป็นรูปแบบชั้นเรียน การฝึกอบรม หรือห้องทดลอง หรือรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ โดยจุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียนสนับสนุนการเรียนรอบรู้ของผู้เรียนตามวัตถุประสงค์ต่างๆที่ตั้งไว้
4.1 ติดตั้งบทเรียน (Installation)
4.2 จัดตารางเวลาพร้อมปรับหลักสูตร (Scheduling and Syllabus Adjustment)
4.3 ลงทะเบียนเรียนและบริหารบทเรียน (Enrollment and Administration)
4.4 ปฐมนิเทศผู้เรียน (Orientation)
4.5 วางแผนการสนับสนุนจากผู้สอน (Instructor Plans Facilitation)
4.6 จัดสิ่งสนับสนุนบทเรียน (Facilitation of Course)
ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนการทดลองใช้ มีดังนี้
1) บัญชีรายชื่อชั้นเรียน (Class Roster)
2) การเรียนการสอน (Instructional)
3) แผนการสนับสนุน จากผู้สอน (Instructor’s Facilitation Plan)
บุคลากรที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนนี้ ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน ผู้บริหารหลักสูตร และฝ่ายสนับสนุนด้านเทคนิค
ขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล (Evaluation Phase)
ขั้นการประเมินผลประกอบด้วยสองส่วนคือการประเมินผลรูปแบบ (Formative) และการประเมินผลในภาพรวม (Summative) การประเมินผลรูปแบบคือการนำเสนอในแต่ละขั้นของ ADDIE Process ซึ่งเป็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา และการประเมินผลในภาพรวมจะทำเมื่อการสอนเสร็จสิ้นเพื่อประเมินผลประสิทธิผลการสอนทั้งหมดข้อมูลจากการประเมินผลรวมโดยปกติมักจะถูกใช้เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับรูปแบบการสอน
5.1 จัดทำเอกสารโครงการ (Documenting Project)
5.2 ทดสอบบทเรียน (Testing)
5.3 ปรับบทเรียนให้ใช้งานได้ (Validation)
5.4 ประเมินผลกระทบ (Conducting Impact Evaluation)
ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนการประเมินผล มีดัง นี้
1) เอกสารโครงการ (Documentation) ได้แก่บันทึกข้อมูลด้านเวลา (Record TimeData) รายงานผู้ใช้บทเรียนและผู้ควบคุม (Trainees and Supervisors Report) และ ผลสรุปของ
Ø ข้อคำถามบทเรียน (Course Review Question Results) เป็นต้น
2) คุณภาพของบทเรียน (Quality) ได้แก่
Ø ประสิทธิภาพ (Efficiency) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน (Effectiveness) และความพึงพอใจ (Satisfaction) เป็นต้น
3) รายงานผลกระทบของบทเรียน (Impact Evaluation Report) บุคลากรที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนนี้ ได้แก่ ผู้จัดการโครงการผู้ออกแบบระบบการสอนผู้ประเมินโครงการโปรแกรมเมอร์และผู้เชี่ยวชาญด้าน

ADDIE กับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
การออกแบบการเรียนรู้ เป็นการออกแบบที่มีเป้าหมายความเข้าใจในการเรียนรู้ ผู้ออกแบบหรือผู้สอนจึงต้องคิดอย่างนักประเมินผล ตระหนักถึงหลักฐานของความเข้าใจทั้ง 6 ด้าน ที่ชัดเจนและลึกซึ้ง โดยผู้เรียนสามารถอธิบาย แปลความ ในการนำไปประยุกต์ใช้ การออกแบบการเรียนรู้จึงเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถ ในการแสดงความสามารถการนำเสนอมุมมองได้อย่างหลากหลาย ดังนี้
1.  ความสามารถในการอธิบาย ผู้เรียนสามารถอธิบาย ด้วยหลักการที่เป็นเหตุและผล อย่างเป็นระบบ
การประเมินผล ใช้วิธีการพูดคุยเพื่อประเมินเหตุผลจากการอธิบายของผู้เรียน  การมอบหมายงานที่ใช้ทักษะการเขียน การเรียงความ หรือย่อความ  การสอบถามถึงประเด็นที่ผู้เรียนมักสับสนหรือหลงประเด็น  การให้ผู้เรียนสรุปประเด็นการเรียนรู้   และการสังเกตลักษณะคำถามที่ผู้เรียนสอบถาม
2.  ความสามารถในการแปลความ ผู้เรียนสามารถแปลความได้ชัดเจน และตรงประเด็น
การประเมินผล  ใช้วิธีการให้ผู้เรียนเขียนสะท้อนเรื่องราว แนวคิด หรือทฤษฎี เพื่อประเมินเกี่ยวกับการลำดับ ไล่เรียง และความชัดเจนของสาระเนื้อหา
3.  ความสามารถในการประยุกต์ใช้ ผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างถูกต้องและครอบคลุม
การประเมินผล  ใช้วิธีการให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ที่กำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ  การให้ผู้เรียนประเมินหรือเขียนข้อมูลป้อนกลับจากการนำความรู้ไปใช้
4.  ความสามารถในการมองมุมที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถเสนอมุมมองใหม่ ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ
การประเมินผล  ใช้วิธีการวิเคราะห์วิจารณ์ โดยให้ผู้เรียนเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย แนวทางในการคิด การมองจากสถานการณ์ตัวอย่าง
5.  ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับฟังและสนองตอบ
การประเมินผล  ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินความสามารถในการสมมติ การเข้าไปนั่งในใจผู้อื่น
6.  ความสามารถในการเข้าใจตนเอง ผู้เรียนมีความใส่ใจ พร้อมปรับตัวรับการเรียนรู้ใหม่
การประเมินผล  ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินเปรียบเทียบผลงานของตัวเองแต่ละช่วงเวลา มีความรู้และเข้าใจมากขึ้นเพียงไร
ครูผู้สอน: WHERE:  การออกแบบการเรียนรู้
W   Where are we heading?  เป้าหมายการเรียนรู้จะเป็นไปในทิศทางไหน
H    Hook the student through provocative entry points   ออกแบบการเรียนรู้ให้น่าสนใจเพื่อสร้างแรงจูงใจ
E    Explore and Enable      การคัดเลือกเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์ประเด็นแนวคิด ทฤษฎี และการนำไปใช้
R    Reflection and Rethink การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้และการสังเคราะห์ข้อสรุปจากเนื้อหาสาระ
E     Exhibit and Evaluate       การประเมินผลที่มีเป้าหมายชัดเจน เน้นสภาพความเป็นจริง
ครูผู้สอน: มิติการคิด: นักประเมินผลและนักออกแบบกิจกรรม
การคิดอย่างนักประเมินผล      การคิดอย่างนักออกแบบกิจกรรม
Ø อะไรคือหลักฐานการเรียนรู้ที่เพียงพอและชัดเจน   กิจกรรมอะไรทำให้ผู้เรียนเข้าใจและติดตาม
Ø อะไรคือจุดเน้นของการเรียนการสอน   จะใช้สื่ออุปกรณ์ชนิดใดสำหรับหัวข้อนี้
Ø อะไรคือจุดจำแนกผู้เรียนที่รู้และไม่รู้    จะกำหนดกิจกรรมและโครงการอย่างไร
Ø อะไรคือเกณฑ์ในการตัดสินงาน           จะให้คะแนนและชี้แจงประเมินผลอย่างไร
Ø จะตรวจสอบความเข้าใจผิดของผู้เรียนได้อย่างไร       กิจกรรมที่ไม่ได้ผล เป็นเพราะอะไร
ตัวอย่าง การใช้ ADDIE ในการออกแบบการเรียนการสอน
1. การศึกษาความพึงพอใจในการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียวิชาฟิสิกส์ เรื่อง งานและพลังงาน โดยใช้แบบจำลองของ Addie Model Satisfaction Learning by Using Multimedia Computer on Physics in Work and Power Subject by Using Addie Model
2.  นนิดา  สร้อยดอกสน (2553) ได้ศึกษาวิจัยโดยพัฒนาโปรแกรมสอนภาษาอังกฤษสำหรับเยาวชนผู้พิการ ทางสายตา โดยการพัฒนาและออกแบบระบบการสอนใช้แบบจำลองของ ADDIE Model สำหรับเนื้อหาบทเรียน ภาษาอังกฤษมีทั้งหมด 10 บทเรียน แต่ละบทเรียนจะมีรูปแบบการนำเสนอ 3 ส่วน คือ ส่วนของคำศัพท์ ส่วนของ บทสนทนา และส่วนของแบบฝึกหัด และได้นำไปทดสอบกับกลุ่มเยาวชนผู้พิการทางสายตาในช่วงชั้นที่ 2  (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6) จำนวน 10 คน งานวิจัยนี้ศึกษาการตอบสนองความต้องการการใช้สื่อการเรียนการสอน ของผู้พิการทางสายตา และความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมซึ่งผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเยาวชนผู้พิการทางสายตามี ความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมสอนภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมาก
แหล่งอ้างอิง
http://www.instructionaldesign.org/models/addie.html อ้างในDocument courtesy of Wikipedia.org